โดย อารยา ราษฎร์จำเริญสุข
แปลโดยคุณหญิงจำนงศรี (เนื้อหาส่วนที่แปลไม่ครบ)
Araya Rasjarmrearnsook with four of her canine "pioneers" in 2004. Photo: Eakarach Prangchaikul
มันคือศิลปะ อย่าดูถูกมันล่ะ หากว่าฝนไม่ตกเลย คุณสามารถเลือกได้ว่าจะยกยอมันหรือไม่
คุณ(อาจ)ทำอะไรก็ได้ เพราะว่ามันคือศิลปะ
กดหมอกลอยเรี่ยให้ฝังจมน้ำในบึงเงียบ ไกลตา ในเช้าที่สวยที่สุด แล้วฮัมเพลงเบาๆ เดินจากมา
It’s art, don’t you look down on it! If it rains not at all, you could applaud or do whatever you will, simply because it is Art.
นั่นเสียงกระดิ่งของจักรยานชายแก่ เขาแขวนถุงกาแฟร้อนไว้ฝั่งหนึ่งของแฮนด์จักรยาน อีกฝั่งเป็นถุงปาท่องโก๋ หันหลังให้ด้านที่พระอาทิตย์ส่องฉาย ด้านที่พระอาทิตย์ขึ้น เคลื่อนช้าๆ มุ่งไปสู่กลิ่นอับของบ้านไม้ ที่กำลังรอกินอาหารเช้ารสเลิศ ด้วยกัน
ก็ถ้ามันมีดอกไม้หอมกลางคืนชื่อราตรี มันก็มีดอกไม้หอมกลางวันชื่อทิวา
นี่เป็นข้อมูลง่ายๆ คุณอาจใช้เมื่อจำเป็น เมื่อดูศิลปะ
There… that’s the ring-a-ding-ing of an old man’s bicycle bell. On one handle of the bike, he hangs a plastic bag filled with hot coffee… on the other, a bag of Chinese donuts or pa-tong-koh. With his back to the rising sun, he rode slowly towards the stuffy scent of the wooden house that’s waiting to savor the sumptuous taste of the breakfast.
Well, if there exists a fragrant night-flower named ratree (night), there also exists a perfumed day-flower named tiva (day).
This is just a simple fact that you may need when savouring Art.
โปรดรู้สึกอิสระเมื่อคุณก้าวออกไปสู่ลานกว้างของความรู้สึก เขย่าต้นไม้ใหญ่ด้วยสายตา ทำให้ดอกร่วง
ลงมาเป็นพรมให้คุณเดิน ขณะย่ำเท้าไปบนพรมใหม่สีขาว ทุกๆ การบดขยี้ คุณได้กลิ่นของมัน มาพร้อมกับเสียงร้องที่คุณไม่ได้ยิน
When you step out into the boundless space of feelings, please feel free to shake tall trees with your eyes, making its flowers shower down and carpet the ground for your feet. With each step on the newly spread white carpet, your feet grind out the perfume which rises, accompanied by cries that you cannot hear.
อะไรนะ? คุณอยากอ้างถึงความเป็นจริงในงานศิลปะ อ๋อ! คงมีคนสนใจ พวกเขาน่าจะเชื่อคุณมาก โดยไม่สงสัยเลยว่าคุณ 'จริง’หรือไม่? แต่เป็นศิลปินไม่ต้องอายตัวเอง พูดออกไปเลย เอ.....ไม่รู้ว่าต้องทำงานก่อนหรือเปล่า
ในเมื่อ..ทำชีวิตไม่ได้แล้ว
What are you saying? Oh, you want reality in Art… I suppose some people are interested in that. They should belief you without questioning your reality. Well, as Artist one shouldn’t be ashamed of oneself. Speak out! But… I don’t know whether I should complete my work or not, when I can no longer work on Life.
เคยมีคนบอกว่าคุณค่าอย่างอุดมคติจบลง เมื่อไหร่นะ? ใช่หรือเปล่าตั้งแต่คิวเรเตอร์มาที่นี่ นั่งรถผ่านไปเบาๆ ราวกับสายลมพัด ปลุกดอกไม้ที่ชื่อศิลปินให้ตื่นขึ้นทั้งแถบทุ่ง โดยไม่ใช้นาฬิกาปลุกเลย เป็นแค่คำถามเท่านั้นเองว่า “มันเกี่ยวกับอะไร?”
Someone once said that the value of ideal ends…when? Could it be when Curator came here in a car that passed like breeze, awaking a whole field of flowers named Artist without using even an alarm clock, only the question “It has to do with… what?”
“ความรัก”
แล้วทั้งสองคนก็เข้าใจกัน ราวกับคู่รักใหม่ที่มีน้ำลายเปื้อนปากอยู่เสมอ
“ทำไมฉันเสียเวลาเช่นนี้?” คิวเรเตอร์คิด แต่ศิลปินนอนไม่หลับ
“ฉันจะตอบเขาได้อย่างไรว่า มันเกี่ยวกับศิลปะ”
คุณทำอะไรก็ได้ ทำไปเถอะ ข้าวหรือขี้ เอามาเกี่ยวกับศิลปะ วาทกรรมในที่สาธารณะช่วยได้มาก
ว่าแต่ว่าศพทั้งหลายเอ๋ย รู้จักศิลปะกันมาก่อนหรือเปล่าเล่านี่? ฉันหมายถึงภพที่คุณเคยมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่อนาคต ใครจะรู้อนาคตตัวเองนอกจากศิลปิน
“Love”
And the two understood each other as if they were eternally wet-lipped lovers.
“Why am I wasting my time like this?” Thought Curator, but Artist could not sleep.
“How can I reply that it has to do with Art”
Go, do what you want. Food or feces can be drawn into an association with Art.
Public speeches help a lot. But how about you, Corpses! Have you ever known Art?
In the life that you have lived, I mean, not the future… for who, except Artist, would know his or her own future?
เสียงแม่ค้าเข็นรถขายมันปิ้ง เผือกปิ้ง กล้วยปิ้ง (แค่อันละสองบาทเมื่อปีกลาย ปีนี้เพิ่มอีกบาทหนึ่ง) ผ่านถนนสายแรกในชีวิตของฉัน เป็นการแรกพบของวัน ม่านหน้าต่างสีขาวลายฉลุอย่างโบราณรูปกระต่ายชมจันทร์, นั่งอยู่ข้างๆ งูจึงขยับตัวทักทายอยู่ในสายลม ขณะที่แม่น้ำ, ไหลขนานกับถนนนั้นไหลเชี่ยว ก็เพราะมันเป็นหน้าฝน ทุกๆ หน้าฝนน้ำจะท่วมฝั่ง บางครั้งท่วมถึงบ้านทั้งแถบแถว
The voice of a woman wheeling her cart, peddling grilled yam, grilled taro, grilled banana (each for two baht last year, now three) passing my life’s first street. As it was the first meeting of the day, the white curtain, with perforated embroidery of a rabbit admiring the moon with a snake close by, moved in the wind in gestures of greeting. The river that runs parallel to that first street of my life flowed ever so fast because of the monsoon. In this season each year, it would burst its bank, inundating rows and rows of houses every now and then.
เมื่อคืนฉันตื่นขึ้นกลางดึก ด้วยความคิดที่ว่า
น่าจะเสกหมาพิการให้เป็นพระราชาได้ พลันเสียงหรีดหริ่ง, กบ, เขียด ในเวิ้งนาเจิ่งน้ำรอบบ้านขานรับความคิดนี้กันระงม ช่วยให้ฉันมั่นใจที่จะคิดต่อ บนบ้านที่ราวกับอยู่บนเกาะร้าง ไฟหัวเตียงหรี่แสงอย่างไม่ไว้ใจในความคิดของฉัน เปลี่ยนผิวแผลหมาขี้เรื้อนให้กลายเป็นเสื้อคลุมสวย (อะไรนะ? ทำไมฉันไม่เป็นนักบ่น-ด่าผู้หญิงเหรอ) โอ้พระพุทธของฉันเอ๋ย! ต้องไม่ใช่ในคืนนี้ พระจันทร์กำลังส่องสวย ผ่านเมฆมืดมาได้ก็บุญนักหนาแล้ว คืนนี้อะไรอะไรก็ดี โปรดอย่ารบกวนอารมณ์
Last night I woke in the middle of the night with a thought…
…that I ought to be able to magically change a crippled dog into a king. Suddenly the sounds of crickets, cicadas, frogs and toads in the flooded fields around the house swelled in response, assuring me that I should think on and on in this house… a house that was like a deserted island. The bedside lamp doused its light, distrusting my idea of changing the rashes and wounds on the skin of the dog into a gorgeous cloak. (What? Why was I not a damner and curser of women?) Oh, my Lord Buddha, not tonight. That the moon shone in beauty through the throng of dark clouds was a glory in itself! Let nothing ruffle my mood tonight, with everything so fair and fine.
แต่เอ ผู้หญิงอเมริกัน นักศึกษา(ฆ่าเวลา) ปริญญาโทในชั้นเรียนชื่อเพราะว่า การจัดการวัฒนธรรม เธออยากเห็นความดาลเดือดของศิลปินหญิงไทย ฝันไปเถอะ ฉันจะบอกเธออย่างไรว่า ยากเหลือเกิน ราวกับงมเข็มในมหาสมุทร คนไทยชอบเปรียบอย่างนี้ แต่ถ้าเธออยากพบความดาลเดือดของโสเภณีไทยที่หลังบริการลูกค้าแล้วฉุนเฉียวกับการทวงเงินเสียงแข็งล่ะก็ได้ อะไรวะต่อรองเหลือแค่ครึ่งหนึ่ง? ดาลเดือดระดับที่อวัยวะสำคัญของลูกค้าอาจถูกส่งเป็นอาหารเป็ด ที่เล่ามาเป็นฉากในหนังชีวิตที่อาจอ้างได้ว่าเป็นศิลปะชิ้นหนึ่งของไทย
“ฉันไม่รู้จริงๆ ว่าจะมีใครสนใจหรือเปล่า สักเท่าไหร่ ว่าหนังเรื่องนั้นเป็นศิลปะได้หรือไม่อย่างไร
ดูแล้วก็แล้วกัน”
But that American woman, a graduate student (a passer of time) taking a course with the beautiful name of Cultural Management… she wants to see the fury female Thai Artist! She won’t. How shall I ever tell her that that would be harder than searching for a needle lost at the bottom of an ocean – that’s a Thai saying, by the way. But if she wants to experience the fury of a Thai prostitute after servicing a client - then that’s something else! Such fury that could well turn a potent part of the client’s anatomy into a delicacy for ducks – now, that’s a scene from a film from real-life drama that could be called Thai art.
“I really don’t know if anyone would be interested, and to what degree, whether that film is considered art or not and in what aspect… Well, let’s see."
หมาพิการที่กลายเป็นพระราชายืนนิ่งรออยู่นานแล้ว เขาเดินไม่ได้ บอกว่าต้องการราชรถ เอ้า! เอาไปเลย เสกกระดูกแห้งแข็งที่ฝังดินให้กลายเป็นราชรถหรู เป็นแสงเรืองผุดโผล่ขึ้นในท่ามกลางฝุ่นฟุ้งซึ่งกลายเป็นมวลดอกไม้ไทยโบราณปลิวไปในอากาศ กลับรวมตัวเป็นช่อประดับ ชมพู ฟ้า เหลือง เขียว ขาว พราวล้อมราชรถนั้นไว้ ส่งกลิ่นหอมฉุนจนพระราชาที่ขึ้นไปนั่งจามไม่หยุด ในระหว่างการเดินทาง พสกนิกรแห่เฝ้าแหนเนืองแน่น แต่พระราชาก็ยังจาม
“ท่านเป็นหวัดหรือ ยัวร์มาเจสตี้”
“ฉันจาม เพราะพวกท่านช่างหอมเหลือเกิน”
ราชาหมาพิการตอบอย่างสุภาพ
The crippled dog that had changed into a king had been waiting a long while. He can’t walk and called for a right royal coach. There! A dried bone, retrieved from long burial, has been turned into an exquisite coach with an aura of light radiating from the cloud of dust that had turned into a glory of Thai flowers from long-lost days. The perfume is so strong that it set the king sneezing all the while as he progressed in his journey attended by crowds of loyal subjects. The king sneezes on and on.
“Caught a cold, your majesty?”
“I sneeze because you smell so good.”
The crippled dog king answered politely.
“ฉันเรียนศิลปะมาหรือเปล่า?” แน่นอน จากสถาบันเก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพ ที่ๆ มีอาจารย์ผู้ชายล้อมอาจารย์ผู้หญิงคนเดียวของคณะราวกับดาวล้อมเดือน มีจำนวนนักศึกษาหญิงเท่ากับเสี้ยวเค้กชิ้นแรกที่ถูกตัดโดยมือของเจ้าบ่าวกับเจ้าสาวที่บรรจงจับด้ามมีดเล่มเดียวกัน ซ้อนกันโดยที่ไม่รู้ว่าเป็นภาพเดียวกับอนาคตเมื่อรักจืดจาง จำนวนนักศึกษาชายมากเท่ากับเนื้อเค้กผสมครีมส่วนที่เหลือ ที่กินอย่างไรก็เหลือ
“Did I study art?” Certainly. From an old academic institution in Bangkok where male lecturers are scattered around the one and only female colleague like stars surrounding the moon, where the number of female students is like a sliver of cake ever so carefully cut from the whole by the knife held by the hands of the bride and groom. Hand that lay one on top the other without realizing that the picture will remain unchanged into the future when love fade. Here the number of male students equals to the rest of the creamed cake, so large that it can never by eaten up.
ม่านหน้าต่างลายฉลุของบ้านเก่าขืนลมแม่น้ำไว้ ไม่พัดไปตามทิศที่ควร เพื่อส่งเสียงเจรจาให้ถึง กล้วยปิ้ง มันปิ้ง และเผือกปิ้งบนแผงอุ่นไฟบนรถเข็นซึ่งกำลังจะเคลื่อนผ่านไป ละล่ำละลักถามว่า “แพงขึ้นอีกบาทหนึ่งแล้วเหรอ” แล้วเผลอเปรียบกับตัวเอง “เอ........แล้วราคาของที่ถูกใช้มานานปีแล้วจะเป็นเท่าไหร่?” ม่านหน้าต่างคิดถึงแม่ขึ้นมาจับใจ
“ฉันต้องดูแลหมาพระราชาหรือเปล่า หลังจากที่จินตนาการได้ออกเดินทางไปแล้ว”
เสียงหมอกที่ถูกกดฝังจมน้ำสำลัก แว่วมาจากบึงกว้าง ในสำนึกส่วนดีฉันเพิ่งรู้ว่าเธอยังไม่ตาย แต่ใครจะช่วยแยกหมอกออกจากมวลน้ำได้ ช่วยด้วย ช่วยด้วยเถิดงานหนักเท่าๆ กับความพยายามอยู่ให้ได้
ในโลกศิลปะเลยทีเดียว ฉันทำอะไรผิดหรือเปล่า?
The old house’s curtain with cutout embroidery will fully withstands the wind, refusing to be blown in the direction prescribed… in order to be heard by the grilled banana, grilled tapioca as well as grilled taro that are spread out on the pushcart’s grill as it is wheeling pass. Out tumbles the question, “An increase of one whole baht?”. A self-comparison unwittingly slips out, “I wonder how would something used for years cost…” The curtain misses its mother with all its heart.
“Shall I have to take care of the crippled dog after Imagination has left on her journey?”
The cry of the mist that had been shoved under the water until it spluttered, softly resonates from the big pond. In my personal consciousness dawns the knowledge that you have not died. But who, oh, who would separate the mist from the water for me? Help, help, please. The task is as hard as the effort to survive in the Art world. Have I done something wrong?
แล้วฉันไปเรียนศิลปะที่เยอรมัน ตอนอายุสามสิบ เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นไอ้จู๋ผู้ชายผิวดำในรูป มันโผล่ออกมาจากชุดสูท ที่โปรเฟสเซอร์ชายชื่อ ดร.ดำ เอามาเป็นประเด็นถกเถียงวิจารณ์ในชั้นเรียนที่มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในหัวข้อ โพลิติคอล คอเรคเนส “บุญตาที่ได้มาเห็น” ฉันพึมพัม เพราะไม่มีทางที่ไอ้จู๋ดุ้นอยากดังกล่าวจะปรากฏในชั้นเรียนของไทยอย่างสง่างามเช่นนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นของชายชาติไหน อ้าว อ๋อทำไมต้องของชายล่ะ อาจโผล่มาจากชุดซาตินสีชมพูของ Charles Ray ก็ได้
ฉันก้มหน้าเสียใจที่เผลออ้างชื่อฝรั่ง แถมเป็นคนดังในโลกศิลปะ ทำไมเราจึงมักอ้างชื่อคนดังเล่า? ทำไมเราจึงปีนป่ายไปสูงเพื่อย้ำความต่ำต้อยของตัวเอง ก็ฉันอยู่กลางทุ่งนานี่แล้ว ที่ๆ พระอาทิตย์ส่องฉาย ฝนก็พรมถึง มีไส้เดือนอยู่ใต้เท้าและนกก็ปล่อยถ่ายลงมาปู้ดๆ
Then, at the age of thirty, I went to Germany and saw for the first time the penis of a black man. It peeked out from the suit in a picture that a male professor named Dr. Black used as subject for discussion titled Political Correctness. “A blessing to be able to see This!”
I murmured because there is absolutely no chance to see the said penis making its appearance with such noble grandeur in a Thai classroom, no matter to a man of which nationality the penis belonged. Well… why? Why must it belong to a male, mightn’t it have peeked out from a pink satin Charles Ray?
I hang my head in sorrow for having allowed a farang name to slip from my lips, especially as it is such a big name in the world of art. Why do we have the tendency to mention names of celebrities? Why do we scale the heights in order to look down at ourselves. Well, here I am in the middle of a paddy field where the sun shines and the rain seeps into the earth, home of earthworms and receptacle of bird shits.
คิวเรเตอร์ถามอย่างถ่อมตนแต่แนบเนียนเหลือเกิน “คุณมีนิทรรศการที่ไหนในอนาคต” จนรู้สึกอยากจะโน้มตัวเข้าไปกอดไว้, ปลอบโยน ให้เหมือนกอดลูกหมาที่ยังไม่หย่านม “โอ้โอ๋ แข็งแรงลูก!” แต่แม่มันไม่ยอมให้กอด มันจะกัดเอา ฉันจึงยังไม่เคยกอดคิวเรเตอร์อย่างท่วมท้นรู้สึกเลย นอกจากแก้มชนแก้มที่สนามบิน คนไทยว่าอุจาดมาก กอดกันในที่สาธารณะ แต่ฉันทำเพราะว่ามันเป็นสากล ปัญหาก็คือเราไม่ได้นัดกันไว้ก่อนว่าใครอยู่ขวาใครอยู่ซ้าย
แล้วฉันช้อนตาขึ้นมองคิวเรเตอร์ ว่าแต่ว่า “กลิ่นแก้มของฉัน ถ้าเทียบกับของ Louise Bourgeois ของใครหอมกว่ากันเล่า? ฉันต้องรอให้อายุเท่านั้นเสียก่อนคุณจึงจะได้กลิ่น?” ฉันไม่กล้าเปรียบตัวเองกับศิลปินหญิงที่สาวกว่า Teresita Fernandez หรือ Tracey Moffatt หรืออื่นๆ
“Where will your future exhibitions be held?” the curator inquires with such convincing humility that I am tempted to lean over to embrace and sooth him the way one does a suckling puppy. “There, there, son… be nice and grow strong!” But its mother wouldn’t let me hug it, but would bite. I have, therefore, never hugged a curator with that kind of overwhelming compassion, but only cheek-to-cheek contacts. Thais regard public embrace as unsavory but I do it because it is international. The problem is that we have never made prior agreements as to who would be on the right and who on the left.
Then, I looked up at the curator. What about it, “Which is the better, the smell of my cheeks compared to those of Louise Bourgeois? Do I have to wait until I am her age before you can recognize its scent?” I didn’t dare compare myself to female artists younger than Teresita Fernandez or Tracey Moffatt or others.
หมาที่เลี้ยงมาเดินเบียดสะโพกกับขาฉัน อั๋นสะโพกของหมาสาวไทยขนเกรียนกับเหี่ยวน่องขาวของหญิงไทยกลางคนถูกันไปมาปรากฏเป็นการตระหนักรู้ ถึงเวลาให้อาหารมันแล้ว เป็นอย่างนี้ทุกทีขณะคิดถึงโลกกว้างชื่อศิลปะ
เป็นอีกครั้งที่ศิลปะพ่ายแพ้แก่ความอาทร
ฉันไม่ค่อยมีกินจากงานศิลปะ ส่วนใหญ่ศิลปะแบ่งข้าวจากจานฉันไป บางผู้คนแวะเวียนมาคั้นเอาเลือด-หนองจอกกะจิดริดไปดื่ม แล้ววางเหรียญรางวัลไว้ให้
ฉันมีกินจากงานสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย แม้ว่าเมื่อเปล่งคำออกมา ‘สถาบันศิลปะ’ เสียงเห่ยๆทำลายรสอร่อยของศิลปะไปโข ฟังแล้วเป็นเสนียดหูต่อคนในวงการศิลปะที่แท้ ศิลปินอาชีพ, ภัณฑารักษ์, ผู้อำนวยการหอศิลป์ ว่าแต่ว่า แท้แค่ไหนกัน จันทร์เจ้าขา แท้พอจะร้องขอข้าว ขอแกง ขอแหวนทองแดง น้องข้าตาย เอาไว้ให้ข้าเองเถิด
The dog I keep walks over to press itself against my thigh. The friction of the fleshy thigh of the young Thai bitch rubbing against the withering white calf of the middle-aged Thai female generates the realization that this is its mealtime. It happens every time I think of the wide world called 'Art'.
Once more Art is vanquished by ‘care’.
Art doesn’t give me much to eat but, rather, take its share of food from my plate. Sometimes people drop in to squeeze my plasma into tiny cups, drink it and leave medals as reward.
I earn my sustenance from teaching at a university even though whenever I pronounce the word 'art institute' the uncouth sound would subtract from the taste of Art - making it bane to the ears of the circle of real artists such as professional artists, curators, directors of art center. How real? Moon, dear moon, instead of asking you for rice, soup and copper ring for my little brother, I’ll keep it for myself, because he is dead,
ผักตำลึงริมรั้ว ชะอมทั้งกอ ผักบุ้งทอดยอดในบึงหลังบ้านพากันสั่นไหว เปล่งเสียงเซ็งแซ่ กินฉัน กินฉัน แล้วเธอจะลบความปวดร้าว ถ้ามี? พลันปลาและกุ้งในบึงกระโดดลอยเหนือน้ำ แสดงความเห็นใจ จนฉันต้องขอร้องให้หยุด เดี๋ยวหมอกจะหลุดออกมา บึงจะไม่พิเศษอีกต่อไป
“หมอกไม่อยู่ในบึงนี้ เธอลืมไปแล้ว”
“ใช่ หมอกอยู่ที่บึงไกลๆ” ฉันพึมพัมตอบไป
The edible climber on by the fence, the whole clump of cha-om, morning glory
หมาพระราชาส่งข่าวมา ขณะนี้ราชรถกระดูกมุ่งสู่ยุโรป ด้วยว่าเป็นรถของชาติด้อยพัฒนา จึงคาดว่าจะถึงที่นั่นตรงรอยต่อระหว่างฤดูร้อนกับใบไม้ร่วง ตอนพระอาทิตย์ยอมลดเวลาซึ่งเหลื่อมกินกลางคืนลงบ้าง และใบไม้ระริกเปลี่ยนใส่ชุดเหลือง เตรียมฉลองการจากลา “ดอกไม้ไทยหลุดไปจากราชรถคราใด ดอกไม้ฝรั่งก็ปลิดขั้วเข้ามาแซมโดยพลัน”
ฉันอ่านจดหมายที่ถักทอด้วยขนหมาพลางมองน้ำในบึงซึ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ
ฉันกลับไปที่นั่นอีกในคืนหนึ่ง ร่างเหยียดแข็งทอดรออยู่เสมอ เรียงรายราวกับนักเรียนในชั้น ความนิ่งเงียบส่งกลิ่นทักทายฉันเหมือนเมื่อเคยมา นิ่งเท่ากับความจดจ่อของพวกเขาที่จะฟังนิทานเรื่องต่อไป ทุกร่างรู้จากการอ่านครั้งก่อนๆ ไปแล้วว่า อิเหนายุวกษัตริย์ทอดทิ้งนางจินตหราเมียคนแรก จนเกิดบทกลอนที่หญิงสาวไทยสมัยหนึ่งท่องจำกันได้ทั้งเมืองว่า
โอ้ว่าอนิจจาความรัก พึงประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
มีแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ไหนเลยจะไหลคืนมา
แม้ๆ ไม่ดังเท่ากับเพลงแม่น้ำไม่หวนกลับของมาริลิน มอนโรแต่ก็ทำให้ใจมั่น มุ่งหารักใหม่
“ทำไมไม่มีหนังสือในมือ” ร่างตรงทางเข้าถามขึ้น
“ฉันเพียงอยากมาหาความเข้มแข็ง คุณแข็งแรงกันเหลือเกินด้วยผ่านพ้นความเจ็บปวดและจากลากันมาสาหัส ฉัน........” ด้วยความตื้นตันใจ “.....ไม่อาจอ่านหนังสือให้คุณฟังได้อีก”
“แต่พวกเราอ่านหนังสือเองไม่ได้” ร่างภายใต้ผ้าดอกสีชมพูเอ่ย
“บทของผู้อ่านเป็นบทของผู้ให้ แต่ฉันอ่อนแอกว่าคุณนัก”
“โอ้ เด็กเอ๋ย คนอ่อนแอก็สามารถให้ได้” ร่างผู้เฒ่าปลอบโยนมาจากใต้ผ้าคลุมสวย
“ถ้างั้นฉันเล่าเรื่องกษัตริย์หมาพิการให้ฟัง เขากำลังไปยุโรป”
“ไปยุโรป” ร่างทั้งหมดอุทานขึ้นพร้อมกันราวกับเสียงเด็กในชั้นเรียนขั้นประถม เสียงกระหึ่มปะทะผนังห้องโถงกว้าง ผนังขยับตัวตื่นจากหลับ “ไม่รู้จักนอนกันหรือยังไง” เขาบ่นในมโน “ไปทำไม” หลายร่างถามขึ้นพร้อมกันราวกับนัด
“ไป.....เอ้อ.....ไป” ฉันพยายามนึก
พลันสารขนหมาลอยเนิบลิ่วเข้ามาทางหน้าต่าง ให้ไขว่คว้าไว้ ฉันสังเกตว่าขนยาวขึ้นและขาวขึ้น แบบฝรั่ง สารเอ่ย “เรามุ่งสู่เมืองคาสเซล กำลังเข้าสู่Documenta 11”
“ไปดูด็อคคิวเมนตา โอ”
ฉันอุทาน ความริษยาซึมซ่านในสายเลือด เหล่าร่างผู้ละโลกไปแล้วต่างขยับรู้ทัน
“เธออ่อนแอจริงๆด้วย”
“การเปรียบเทียบทำให้เธอตัวเล็กจ้อย คนเป็นเอ๋ย”
“แต่ว่าคนตายเอ๋ย ด็อคคิวเมนตานั้นสำคัญยิ่งนัก ถ้าไม่ได้ไปก็เหมือนหญิงงามที่ไม่เคยมือชาย”
“โอ” ร่างพากันร้องเซ็งแซ่อีกหน จนผนังรู้สึกคันยิกๆ “เราเข้าใจแล้วว่าสำคัญยังไง” ร่างสูงวัยกล่าวอย่างเห็นใจ
อวลอากาศเจือกลิ่นความตายเศร้านัก ความอ่อนแอฝืนใจ พยายามเป็นผู้ให้ พลันเพลงเอื้อนเอ่ยในท่วงทำนองสวย
“อันโดรเมดาสุดาสวรรค์ ยิ่งกว่าชีวันเสน่หา ขอเชิญสาวสวรรค์ขวัญฟ้า เปิดวิมานมองมาให้ชื่นใจ ถึงกลางวันสุริยันทร์แจ่มประจักษ์ ไม่เห็นหน้านงลักษณ์ยิ่งมืดใหญ่ ถึงราตรีมีจันทร์อันอำไพ ไม่เห็นโฉมประโลมใจยิ่งมืดมัว”
การนิ่งฟังของร่างส่งกลิ่นที่ชื่อว่าความตระหนักรู้ซึ่ง.........ความผันผวนในอารมณ์, ความผิดหวังของคนพาล แม้ไม่รู้ว่าศิลปะคืออะไร ร่างต่างก็พร้อมใจกันร่วมเล่นสนุก ฉลองความไม่มีสาระของศิลปะที่ความพ่ายแพ้ถดถอยเล่าให้ฟัง แต่ละร่างยอมตนอยู่ภายใต้สีสดของผืนผ้าแม้รู้ว่าไม่เข้ากันกับตัวเอง “ความตายควรใส่สีดำ” ร่างหนึ่งรำพึง “แต่เอาเถอะ สำหรับคืนนี้” บางร่างทัดดอกไม้ชื่อลั่นทม หมายถึงการคร่ำครวญ (ที่เหล่าคนเป็นกีดกันไม่ปลูกไว้ในสวน) บางร่างคล้อยตามการละเล่น อารมณ์ดีหัวเราะจนน้ำในตู้กระจกกระเพื่อม จนต่างต้องเตือนกันให้ระวัง ลายดอกไม้บนผืนผ้าคลุมส่วนโค้งของเนินหน้าอก, ตัว, ท่อนขา-แขนของร่างชืดเย็น ต่างขยับ ขับร้องเพลงไทยโบราณที่ต่างจำได้กระท่อนกระแท่น เพื่อให้การฉลองไม่จบเร็วจนเกินไปเราผสมหลายเพลงเข้าด้วยกัน จากอันโดรเมดาสุดาสวรรค์ ถึงกลิ่นดอกไม้ชื่อราตรี กลับไปสู่การยอยศพระลอ และบทสักวาไพเราะที่มีเนื้อร้องว่า......ไม่รู้จักเบื่อ บทกลอน.........อาวรณ์ หวัง
โอ้ดวงสุริย์ศรีของพี่เอ๋ย..... ร่างทั้งหลายหลับพริ้มเมื่อฉันจากมา ความเพ้อเจ้อ ความริษยา กระทั่งความหม่นหมองหายไป ศิลปะเป็นอย่างนี้นี่เอง แล้วจะซื้อขายกันอย่างไรเล่า ตีราคาไม่ถูกเลย
ลมดึกเย็นชื่นอกกว่าในห้องโถงอับหืน
หมอกเอย ขาดใจ..ไปหรือยัง หรือว่าน้ำลดคืนนี้ แล้วฉันรีบเร่งกลับไปสู่เตียงนอน เผื่อฝันถึงหมอก,
ความผิด, ความอับอาย(ในฐานะมนุษย์)ที่ฉันซ่อนไว้
อารยา ราษฎร์จำเริญสุข
18 สิงหาคม 2545
Comments