top of page

A Beautiful Mind สนทนาภาษาหนัง

(โครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ)



"I've always believed in numbers, in equations, in logic and reason.But after a lifetime of such pursuits: I ask What truly is logic? Who decides reason? My quest has taken me to the physical, the metaphysical, the delusional, and back. I have made the most important discovery of my career - the most important discovery of my life. It is only in the mysterious equations of love that any logic or reasons can be found. I am only here tonight because of you [looking at and speaking to Alicia] You are the only reason I am. You are all my reasons.

ตลอดมา ผมเชื่อมั่น ในตัวเลข สมการ ตรรกะ และเหตุผล แต่หลังจากที่ค้นหามาชั่วชีวิต ผมถามตัวเองว่า แท้ที่จริงตรรกะคืออะไร ใครคือผู้ตัดสินว่าอะไรคือเหตุผล คำถามเหล่านี้ นำพาผมย้อนไปมาระหว่าง หลักการทางฟิสิกส์ เมตาฟิสิกส์ รวมถึงภาพหลอน สุดท้ายผมได้ค้นพบสิ่งสำคัญที่สุดในอาชีพของผม และเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่สุดในชีวิต ผมพบว่ามีเพียงสมการอันเร้นลับของความรักเท่านั้น ที่ทำให้เราได้พบไม่ว่าจะเป็นตรรกะหรือเหตุผลใดๆ ในค่ำคื่นนี้ ผมขึ้นมายืนอยู่ที่นี่ได้เพราะคุณ(มองไปยังอลิเซีย) คุณคือคำตอบว่าผมเป็นใคร คุณคือคำอธิบายว่าผมมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรและเพื่ออะไร""


ส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์หลังรับรางวัลโนเบลของจอห์น แนช ใน A Beautiful Mind



บันทึกสนทนาสกัดบทเรียนจากภาพยนตร์ เรื่อง A Beautiful Mind

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560

ในโครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์ฝึกสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ณ ห้อง 229/1 ชั้น 2 อาคารแพทย์พัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ผู้ร่วมสนทนา คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย ดำเนินรายการโดย

สัณห์ชัย โชติรสเศรณี





เรื่องย่อ : ศาสตราจารย์ จอห์น แนช เป็นอัจริยะทางคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ (1994) แต่เขาถูกคุกคามด้วยโรคจิตเสื่อม(schyzophrenia) ทำให้มีอาการทางจิตและเห็นภาพหลอน เขาไม่รู้ว่า เพื่อน หลานหรือสายลับที่เขาคุยด้วยเป็นเพียงภาพหลอน เมื่อได้รับการเยียวยา อาการก็เริ่มดีขึ้น แต่ยาทำให้เขาไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ เมื่อเลิกกินยา และเกิดความเครียด อาการต่างๆ ก็กลับมาใหม่


ในท้ายที่สุดแนชสามารถก้าวพ้นจากภาวะทางจิตกลับคืนสู่อาชีพและได้รับรางวัลโนเบล เขาไม่ได้กำจัดภาพหลอนไปได้ แต่เขาเลือกอยู่ร่วมโดยไม่สนใจ เขาสรุปว่าไม่ต่างจากความคิดที่มีอยู่มากมาย อันไหนที่มีปัญหาก็ไม่ต้องไปสนใจ ก็แค่นั้น การก้าวพ้นความทุกข์ของแนช ส่วนสำคัญมาจากความช่วยเหลือของ

อลิเซีย ภรรยาที่ร่วมต่อสู้กับโรคไปพร้อมกับเขา และชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่จะช่วยให้เขาตื่นจากความฝันอาจจะไม่ได้อยู่ที่สมอง แต่อยู่ที่หัวใจ และเธอเชื่อในปาฎิหาริย์


ในการสนทนาหลังชมภาพยนตร์คุณหญิงจำนงศรี ตอบคำถามที่ว่า "ดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร"

"หนังเรื่องนี้ดูนานมากแล้วจนลืมมันไปแล้ว ดูตั้งแต่ออกใหม่ ๆ ชอบมาก เพราะเป็นหนังดี เลยต้องทำการบ้านสำหรับวันนี้ เลยเข้าไปอ่านเยอะเหมือนกัน ทราบดีว่าหนังเรื่องนี้เป็นจินตนาการของผู้สร้างเสียเยอะ แนชไม่ได้เป็นคนน่ารักอย่างในนี้ ที่ถูกออกจากงานก็เพราะไปลวนลามคนในห้องแต่งตัวที่เป็นผู้ชาย มีปัญหาเรื่อง Homosexual ด้วย ชีวิตแต่งงานก็ไม่ได้เป็นอย่างนี้ทั้งหมด เพราะมีการหย่ากัน ภรรยายอมรับให้แนชเข้ามาอยู่ในฐานะผู้อาศัยในบ้านหลายปี จนกระทั่งก่อนได้รางวัลโนเบลนิดเดียวถึงได้กลับมาแต่งงานกันใหม่ เพราะงั้นแล้วมันไม่ได้เป็นทั้งหมดอย่างนี้ ความที่เราเข้าไปค้นเยอะพบว่าจริงๆ แล้วตัวภรรยาเป็นผู้ที่ช่วยให้เขากลับมาได้ ด้วยความรัก ความเข้าใจ ถึงแม้จะมีช่วงของการหย่าร้างแต่ก็เป็นช่วงที่ยังดูแลอยู่ อันนี้ก็เป็นที่น่าสนใจ อีกอันหนึ่งตอนแนชตาย หลังจากหนังเรื่องนี้ถ่ายทำไปแล้วด้วยอุบัติเหตุรถแท็กซี่ ตายพร้อมกันสองสามีภรรยา อันนี้ก็น่าคิดเหมือนกันในที่สุด มันก็ถึงที่สุดด้วยกัน

"สำหรับตัวเองสนใจประเด็นหนึ่งของหนังมากเลย เพราะในฐานะผู้ปฏิบัติธรรมเราจะฝึกตัวเอง คำว่าฝึกก็คือมีสติ ที่จะมองความคิดของตัวเอง อย่าไปเชื่อมันนัก เพราะงั้นแล้วประเด็นที่เขาแสดงอยู่ในหนังเรื่องนี้ เรื่องของเห็นมัน แต่ช่างมัน มันเป็นของมันไปไม่ยุ่งกับมัน อันนี้เป็นอันหนึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาในที่นี้คงจะคุ้นกับอันนี้มาก เรามองว่าความคิดมันก็แค่ขึ้นมา เดี๋ยวก็หายไป เพราะว่าความคิดเป็นการต่อเติมจากการสัมผัสกับการรับรู้ต่างๆ ดังนั้นเราก็เอาประสบการณ์เก่าๆ ไปแต่งต่อ ไปยึดติดกับมัน แล้วก็ถูกมันลากไป เพราะงั้นแล้วถ้าจะมองจากมุมนั้นในอันนี้ ตรงกับสิ่งที่เราทำอยู่ ...ซึ่งอันนี้ชัดเจนในสิ่งที่แสดงอยู่ในหนังว่า เธอจะมาเธอก็มานะ แต่ฉันไม่พูดกับเธอ ฉันรู้ว่าเธอเป็นแค่ปรากฏการในสมองก็แค่นั้นเอง อันนี้ก็น่าสนใจ


"อีกอันหนึ่ง..เรื่อง Head กับ Heart สมองกับหัวใจ จริง ๆ แล้วก็ทราบว่าเนช เท่าที่ไปอ่านก็ไม่ได้เห็น(ภาพหลอน)เป็นตัวเป็นตน แค่ได้ยินเสียงเท่านั้น แต่ว่าในหนังผู้กำกับสร้างตัวตนขึ้นมา เราก็จะมองตามผู้กำกับเล่นๆ ดูว่าตัวละคร 3 ตัวที่มันโผล่ขึ้นมามีประเด็นอะไรบ้าง ที่ผู้กำกับสร้างขึ้น ...อย่างตัวชาร์ลส์ เป็นอังกฤษ แนช เป็นอเมริกัน แนชเป็นนักคณิตศาสตร์ แต่ชาร์ลส์เป็นนักวรรณคดี อันนี้สำหรับป้าศรีมองว่าน่าสนใจ เพราะใครๆ มองว่าเราเป็นนักวรรณคดี แต่จริงๆ แล้วเราคิดเลขเก่ง เราแก้โจทย์เก่งมาก ...คิดเอาเองนะว่า แนชเหมือนมีสองด้าน...ซึ่งไม่ปรากฎในชีวิตจริง ถ้าศรีเป็น Producer นะศรีสร้างอย่างอันนี้ขึ้นมาแทนสิ่งที่เขาอยากมีแต่มันไม่มี ส่วนเจ้าเด็กน้อย มาร์ซี เหมือนเขา(แนช)ขาดส่วนที่เป็นความรักที่มันบริสุทธิ์ ดังนั้นตอนที่เขาลาจากมาร์ซี เขาลาแบบอ่อนโยนนุ่มนวลมากเลย ลูบหัว หอม มันเป็นความต้องการบางอย่างที่ขาดไป ส่วนตัววิลเลี่ยม อันนี้เขาเติมเต็ม ..เป็นการฉันเก่ง ฉันวิเศษ ก็เลยคิดว่า 3 ตัวนี้มีบทบาทในจิตของคน ...เวลาเราต้องการอะไร เราก็สร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา แล้วเราไปเกาะติดอยู่กับมัน เราก็บ้าไปได้เหมือนกัน"


สามารถรับชมเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่

 


ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page