top of page

Away From Her สนทนาภาษาหนัง

(โครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ)




"แล้ว เธอก็พูดขึ้นว่า 'คุณคิดว่ามันน่าสนุกไหม... คุณคิดว่ามันน่าสนุกไหมถ้าเราแต่งงานกัน? ผมมองไปที่เธอแล้วตะโกนว่า ตกลง...ผมไม่ต้องการห่างจากเธอ เธอมีประกายแห่งชีวิต Well, she said: 'Do you think it'd be fun... Do you think it'd be fun if we got married?' I took her up on it. I shouted yes. [pause] I never wanted to be away from her. She had the spark of life."

Grant ใน Away from her



รศ.อรชุมา ยุทธวงศ์ และ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์



บันทึกสนทนาสกัดบทเรียนจากภาพยนตร์เรื่อง Away from her

วันที่ 26 กรกฏาคม 2559

โครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์ฝึกสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสนับสนุนโดยบริษัทเอ็ม วี ดี จำกัด

ณ ห้อง 230/1 ชั้น 2 อาคารแพทย์พัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผู้ร่วมสนทนา รศ.อรชุมา ยุทธวงศ์ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์, และ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไทย


เรื่องย่อ ฟิโอนา และแกรนท์ แต่งงานอยู่ร่วมกันมาเป็นเวลายาวนานถึง 44 ปี ตั้งแต่ฟิโอนาอายุเพียง 18 ปี แล้วแพทย์ตรวจพบว่า ฟิโอนาเริ่มมีอาการอัลไซเมอร์ แกรนท์พยายามประคับประคองดูแลเธอจนถึงที่สุด แต่ด้วยอาการของโรคฟิโอนาจำเป็นต้องเข้าพักรักษาตัวในสถานพยาบาล จากคู่รักหวานชื่น ความทรงจำของฟิโอนาเสื่อมลง ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่ความทรงจำเรื่องราวในชีวิตสมรสของฟิโอนาเลือนรางไป เธอกลับไม่ลืมความรู้สึกที่เธอเคยถูกนอกใจ และไม่ลืมความรู้สึกของการมีสามีค่อยดูแลใกล้ชิดมาอย่างยาวนาน แกรนด์กลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับเธอ และเธอสานสัมพันธ์ใหม่กับเพื่อนคนไข้ในสถานพยาบาลที่เข้ามาดูแลทดแทน


คุณหญิงจำนงศรี กล่าวถึงปมในใจของฟิโอนาว่า เธอกลัวการถูกทอดทิ้งมาก จากคำพูดของเธอกับสามี ที่ว่า "คุณอย่างทิ้งฉันไป" และแกรนท์บอกเธอว่า "ไม่มีวันเสียล่ะ" ซึ่งปมนี้เกิดจากประสบการณ์ที่แกรนท์เคยนอกใจเธอ


และเมื่อเธอเสียความทรงจำมากขึ้น "ความทรงจำที่นึกไม่ออก แล้วมีเรื่องความรู้สึกที่เธอโยงกับความ

ทรงจำไม่ได้ แล้วรบกวนมาก ว่าความรู้สึกนึกคิดมันโยงไม่ถูกระหว่างความทรงจำกับความรู้สึก มันสับสน

รู้ว่าคนนี้คุ้นเคย แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร" ในขณะที่เพื่อนคนไข้อยู่ตรงหน้าและใกล้ชิด เห็นชัดเจนตลอด


ในเรื่องนี้ ผศ.นพ.สุขเจริญ อธิบายว่า ฟิโอนาป่วยถึงขั้นหลงลืมคนใกล้ชิด แต่ยังจำอารมณ์ความรู้สึกได้ เธอยังจำได้ว่าเคยเจ็บปวดที่สามีนอกใจ แม้เธอจะจำด้านเนื้อหา กระทั่งหน้าสามีไม่ได้ ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับความทรงจำไม่ได้ เป็นที่มาของความสับสน สิ่งเหล่านี้ญาติของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องเผชิญและเป็นโจทย์ที่สะเทือนอารมณ์


ดร.อรชุมา ได้พูดถึงบทสรุปจบของเรื่อง ที่เวลาความทรงจำกลับมา ฟิโอนา ต้องการปลดปล่อยสามี ละทิ้งความรู้สึกเจ็บปวดที่ติดค้าง "ผู้หญิงขอบคุณและให้อภัย ขอบคุณและชื่นชมที่คุณไม่ได้ทิ้งฉันไป"


คณะวิทยากรยังได้พูดคุยในอีกหลากหลายประเด็นน่าสนใจ สามารถชมฉบับเต็มได้จาก

และสามารถชมการสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ในโครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ เรื่องอื่นๆ ได้จาก ช่อง Youtube ของ หอภาพยนตร์แห่งชาติ


 





ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page