top of page

พรจากฟ้า สนทนาภาษาหนัง

(กิจกรรมภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ)


ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki


บันทึกสนทนาสกัดบทเรียนจากภาพยนตร์ เรื่อง พรจากฟ้า

วันที่ 22 กันยายน 2560

ในโครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์ฝึกสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สนับสนุนโดยบริษัทจีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด

ณ ห้อง 370 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ผู้ร่วมสนทนา คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย และ นิธิวัฒน์ ธราธร หนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์พรจากฟ้า ดำเนินรายการโดย สัณห์ชัย โชติรสเศรณี


เรื่องย่อ : ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวความรักของหนุ่มสาวสามคู่กับการมอบของขวัญให้แก่กันและกันด้วยบทเพลงพระราชนิพนธ์ เริ่มจากเรื่องของ บีม และแป้ง หนุ่มสาวแปลกหน้าต้องมารับบทเป็นตัวแสดงแทน (stand-in) “ท่านทูต” กับ “ภริยาท่านทูต” คู่กัน เพื่อซักซ้อมคิวงาน คิวกล้อง เป็นความสัมพันธ์ช่วงสั้นๆ ในเวลาหนึ่ง“ยามเย็น” เรื่องที่สอง ฟา อดีตออร์แกไนเซอร์ที่ลาออกมาดูแลพ่อซึ่งป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และหวังจะใช้เพลงโปรดของแม่ “Still on My Mind” ฟื้นความทรงจำในอดีตของพ่อ โดยความช่วยเหลือจาก เอ ช่างจูนเปียโน เรื่องสุดท้าย หลง ร็อคเกอร์หนุ่ม ที่เปลี่ยนมาเป็นพนักงานออฟฟิศด้านวิเคราะห์การเงิน ได้พบกับ คิม พนักงานฝ่ายบุคคล ชวนให้มาเป็นหัวหน้าวงดนตรีสมัครเล่นของเหล่าพนักงาน ทั้งที่อยากจะหนีจากความเจ็บปวดในชีวิตนักดนตรี แต่เมื่อครั้นได้ลองรวมวงกับสมาชิกหลากหลายวัย หลงก็พบว่าเป็นครั้งแรกที่เขามีความสุขในการเล่นดนตรี และทางวงเตรียมเพลง “พรปีใหม่” ไว้ให้กับเพื่อนร่วมงานทุกคน โดยหวังให้เป็นของขวัญปีใหม่สำหรับทุกคน


คุณหญิงจำนงศรี ให้ความเห็นหลังชมภาพนตร์ว่า"อันหนึ่งที่คลิกกับตัวเองก็คือ คุณเอ(ช่างจูนเปียโน) จริงๆ แล้วเธอเป็นนักดนตรีที่ improvise เธอจะทำดนตรีให้เพราะที่สุด โดยใช้ improvisation คือคิดยังไง แก้ปัญหาอย่างนั้น อันนี้เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับผู้ชายคนนี้ และคุณเอทำหน้าที่อีกอย่างคือบำบัด


อีกอย่างหนังเรื่องนี้ทำให้ตัวเองคิดขณะที่ดูว่า โลกของผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์ เหมือนโลกของหนังที่ถ่ายแล้วก็มาตัดต่อ แต่ตัดมันไม่ต่อ ...เหมือนถ่ายหนังคือถ่ายไปเรื่อยๆ แล้วมันต่อแบบไม่เข้าที่ เพราะมันเป็นความทรงจำ...มันไม่ต่อเนื่อง แล้วมันก็ไปสัมพันธ์กับโลกปัจจุบันไม่ได้ เพราะงั้นโลกของเขาคือโลกของความจริงที่ต่อแบบหัวท้ายไม่ชนกัน แล้วมันอยู่เป็นbackground เป็นผิวของปัจจุบัน ซึ่งเขายังเชื่อมโยง

ไม่ได้


ในฐานะคนแก่ที่ไม่รู้จะอัลไซเมอร์เมื่อไหร่ อยากจะถามคุณหมอ ป้าควรจะเตรียมอะไรไว้ไหมที่จะให้ตัวเองเวลาอัลไซเมอร์ แล้วบอกลูกเราว่าเอาอันนี้มาให้แม่ดูนะ เอาอันนี้ดูแลแม่นะ ป้าควรจะต้องเตรียมอะไรไว้บ้างไหม แล้วที่เสียวไส้ที่สุดคือชีวิตยามเด็กและยามสาวเป็นชีวิตที่ไม่ได้มีความสุข และมีเรื่องแรงๆ เยอะ แต่ชีวิตหลังๆ มันดี๊ดี แล้วป้าจะเตรียมยังไงว่าตายแล้วชีวิตหลังมันดีอย่างนี้มันไปละ เหลือแต่อะไร ป้าจะเตรียมตัวตอนนี้ด้วยวิธีอะไร


ป้ามีหนังสือที่รักไหม

มี

ป้ามีเพลงที่ป้าชอบไหม

เพลงนี่ไม่ค่อยอินเท่าไหร่ นึกไม่ออก

ป้ามีหนังที่ป้าชอบไหม

อุ๊ยเยอะมากเลย

ป้ามีบทกวีที่ป้าชอบไหม

มี ก็แปลว่าป้าเอามาอัดเอาไว้ เอามาถ่ายเอาไว้ นี่กำลังถามแทนทุกคนที่อาจจะอายุมากแล้ว เราอยากจะเก็บสิ่งดีๆ ที่มันเกิดขึ้นในปัจจุบันเอาไว้ เพื่อจะเตือนตัวเองเมื่อมันหายไปแล้ว เราควรทำไหม"


ติดตามเนื้อหาทั้งหมดได้ที่


 

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page