top of page

The Theory of Everything สนทนาภาษาหนัง

(โครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ)




"ความพยายามของมนุษย์ไม่ควรจะมีขอบเขต เราทุกคนแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าชีวิตจะเลวร้ายแค่ไหน ก็ยังมีสิ่งที่เราสามารถทำได้และทำมันสำเร็จอยู่เสมอ ตราบที่ยังมีชีวิต ย่อมมีหวัง/ There should be no boundaries to human endeavor. We are all different. However bad life may seem, there is always something you can do, and succeed at. While there's life, there is hope."

Stephen Hawking ใน The Theory of Everything





บันทึกสนทนาสกัดบทเรียนจากภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything

วันที่ 27 สิงหาคม 2558

ในโครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ

โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์ฝึกสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ณ ศูนย์ฝึกสมอง อาคารส.ธ. ชั้น 7 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผู้ร่วมสนทนา: คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ และ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย


เรื่องย่อ: เรื่องราวของชายหนุ่มวัย 21 ปี อัจฉริยทางวิทยาศาสตร์ ที่กำลังเรียนปริญญาเอกด้านฟิสิกส์ ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ท่ามกลางความรุ่งโรจน์และความฝันที่ยาวไกล แพทย์วินิจฉัยว่า เขาป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง(หรือเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม) และอาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี โดยที่เซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ค่อยๆ เสื่อมและลีบเล็กลง จนใช้การไม่ได้ในที่สุด


แม้เจอโจทย์ยาก แต่เขาไม่ยอมแพ้ กลายเป็น สตีเฟน ฮอว์กิน นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมากที่สุดนับจากไอสไตน์ เขาใช้ร่างกายที่เต็มไปด้วยขีดจำกัดและสมองที่ยังทำงานอย่างสมบูรณ์แบบ ค้นหาทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นสมการที่งดงามที่สุด สมการเดียวที่ไขความลับทั้งหมดของการกำเนิดเอกภพและสามารถอธิบายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในจักรวาลนี้


ความสำเร็จของเขามาจากแรงสนับสนุนสำคัญของภรรยาคนแรก เจน ฮอว์กิน เพื่อนนักศีกษาร่วมมหาวิทยาลัย ผู้ยอมเสียสละความสำเร็จของตนเอง เจ้าของผลงานหนังสือ เรื่อง Travelling to infinity: my life with Stephen อันเป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่องนี้


ในการสนทนาถึงข้อคิดต่างๆ จากภายนตร์เรื่องนี้ คุณหญิงจำนงศรี ตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นของการไม่ยอมแพ้ต่อชีวิของฮอว์กิน ไว้ว่า "การมีอัตตาของสตีเฟน คือการที่เขาเชื่อว่าเขาอยู่ได้ ไม่ได้ต้องการใคร เขาจึงยืนหยัด แต่ในอีกส่วนหนึ่งสตีเฟนไม่ยึดอัตตา เขาไม่มาสนใจคิดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ไม่คิดว่าเพื่อนมีอย่างนี้ ทำอย่างนั้นได้ แต่เขาไม่มี เขาทำไมได้ ความคิดนี้แทบไม่มีในหัวของสตีเฟน ฉากในหนังที่ตัวละครสตีเฟนมองดูเพื่อนๆ ใช้มือกินข้าว ในขณะที่เขาใช้มือไม่ได้แล้ว แต่มันไม่ได้เป็นสาระสำคัญของเขาเลย สาระในชีวิตของสตีเฟน ณ ช่วงเวลานั้นคือ การได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ที่เขาสนใจต่อไป เป็นการตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิต ซึ่งทำใช้ชีวิตสดใสไปต่อได้ "


คณะวิทยากรยังได้พูดคุยในอีกหลากหลายประเด็นน่าสนใจ สามารถชมฉบับเต็มได้จาก

และสามารถชมการสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ในโครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ เรื่องอื่นๆ ได้จาก ช่อง Youtube ของ หอภาพยนตร์แห่งชาติ

 

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page