top of page

คำนำผู้แปล

เรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ปี 2524 ชุด ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง ของอัศศิริ ธรรมโชติ




มีคนหลายคนถามว่าทำไมแปลงานชุดนี้ของอัศศิริเป็นภาษาอังกฤษหลายเรื่องนัก คำตอบก็คือ เพราะชอบ พอถามว่าซอบอะไร คำตอบซักไม่ง่ายเสียแล้ว จะต้องตอบว่าชอบหลายอย่าง ซึ่งบางอย่างให้รายละเอียดได้ยาก เท่าที่จะอธิบายได้ง่ายๆ ก็คือ ชอบความอ่อนโยนกับเมตตาธรรมใน 'วิญญาณ' ของงาน เป็นวิญญาณที่แสดงออกมาทางภาษาและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสังคม หรือธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือธรรมชาติมนุษย์


ร้อยแก้วของอัศศิริละเมียดละไมไพเราะ จนบางครั้งฟังเหมือนเสียงกวี เป็นการใช้ภาษาที่ละเอียดเบาบาง เหมือนการสร้างตัวละครของเขา อัศศิริไม่ได้เจาะจงปั้นตัวละครของเขาให้เป็นจริงเป็นจัง จนเหมือนจะ

จับต้องได้ เขาเพียง "แตะ" มนุษย์ของเขาขึ้นมาเป็นตัวแทนนานาประเภทของมนุษยชาติ ได้ผลในการสื่อความลึกล้ำของความรู้สึก อัศศิริไม่ตะโกนต่อต้านความเลวร้ายต่างๆ ด้วยเสียงที่แข็งกร้าว หากสะกิด

แก่นสำนึกของคนอ่านด้วยความเห็นอกเห็นใจ ที่เขามีต่อชะตากรรมอันขมขื่นของตัวละคร คุณลักษณะเหล่านี้ทั้งดึงดูด ทั้งท้าทาย ผู้แปลให้อยากสื่อให้ชาวต่างประเทศได้รู้รส


อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้แปลเกิดความสุขในการแปล คือ ความรู้สึกร่วมกับผู้เขียน ในความผูกพันระหว่างธรรมชาติสิ่งแวดล้อมกับธรรมชาติมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในกรุงหรือชนบท ธรรมชาติกับชะตาและ

จิตวิญญาณของมนุษย์เป็นส่วนของกันและกัน สะท้อนรับกันและกัน น้ำในธรรมชาติของอัศศิริดูเหมือน

จะมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่น น้ำในรูปของ หมอก ฝน บ่อ ลำธาร และในลักษณะตรงข้ามคือ ความแห้งแล้ง

เรามักได้ยินการกล่าวถึงอัศศิริ ในเรื่องของทะเล แต่ทะเลไม่มีบทบาทในงานชุดนี้ ฝนของอัศศิริ "โปรยละอองให้หล่นไหลลงมาดูไม่ผิดหยดน้ำตาบนใบหน้าของหญิงสาว" หรือ "พรำเป็นเส้นสายขาวโค้งด้วยแรงลมทุ่งอยู่กลางฟ้า สะท้อนแลงเดดอ้อยสร้อยเป็นรัศมีสีรุ้ง เมื่อมองไกลออกไป " ลำธารของเขามี "เสียงน้ำไหล...ฟังระเรื่อยเอื่อยช้า ฟังว่าเป็นเพลงที่แม่เคยกล่อมก่อนผมจะนอนทุกครั้ง "


เรื่องทุกเรื่องในชุดนี้เป็นเรื่องเศร้า อัศศิริเกลียดความสูญเปล่า ความขมขื่น ความไม่เป็นธรรม และ

ความพิกลพิการในสันดานมนุษย์ที่ปรากฎให้เขาเห็นอยู่ทั่วไป แต่เขาไม่ได้เกลียดมนุษยชาติ

ความอ่อนโยนและความเป็นนักฝันของอัศศิริทำให้เรื่องสั้นชุดนี้เป็นเรื่องราวของความทุกข์ ที่ไม่มืดมิดด้วยความเกลียดซัง


งานแปลที่ตีพิมพ์ในหนังสือนี้ หลายเรื่องได้เคยเผยแพร่ใน Thai P.E.N. Anthology of Short Stories and Poems of Social Consciousness หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และนิตยสาร Living in Thailand นอกจากนั้นบางเรื่องได้เผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงในรายการ 'Voices and ways of Thai Literature" ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยภาคภาษาอังกฤษ


จำนงศรี รัตนิน

3 มีนาคม 2530


 

ดู 10 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page