top of page

ครูจันทร์แรม ศิริคำฟูและ คุณหญิงจำนงศรี รัตนิน

ผู้อุทิศตนเพื่อเยาวสตรีที่ด้อยโอกาสกับโครงการฝึกวิชาบ้านสานฝัน


โดย "วรรษิญา"



เราพบเธอครั้งแรกที่เชียงราย แต่ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ของเธอนั้น เราได้ยินมานานแล้ว


"ครูจันทร์แรม" หรือ จันทร์แรม สิริคำฟู หญิงสาวชาวบ้านถ้ำผาจม อำเภอแม่สาย ผู้เสียสละและอุทิศเวลาทั้งหมดช่วยเด็กหญิงชนบทชาวเชียงรายให้มีโอกาสได้เล่าเรียนและฝึกวิชาชีพ เพื่อจะได้ไม่ต้องตกไปเป็นเหยื่อของ "นักค้าผู้หญิง" ที่ไปหว่านล้อมและใช้วิธีการทุกรูปแบบ ในอันจะได้ตัวเด็กสาวชนบทชาวเหนือมาขายบริการทางเพศ


รู้ๆ กันอยู่ว่าอำเภอแม่สาย ในจังหวัดเชียงรายนั้นอยู่ติดชายแดนไทย-พม่า เหนือสุดของประเทศ เป็นอำเภอที่ขึ้นชื่อว่า มีการซื้อขายหญิงไปประกอบอาชีพโสเภณีไม่น้อยไปกว่าในที่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงพม่า ไทยใหญ่ และชาวเขา นอกจากนี้ยังมีผู้เป็นโรคเอดส์ (AIDS) มากเป็นที่สองรองจาก อำเภอเมือง ในจังหวัดเชียงราย ในขณะที่เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้เป็นโรคนี้สูงที่สุดในประเทศ แต่ในขณะเดียวกันจังหวัดเชียงรายก็กำลังเป็นเมือ' "หน้าด่าน" ที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งมีการริเริ่มส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ

การท่องเที่ยวให้เป็นประหนึ่ง "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" ระหว่างไทย พม่า จีน และลาว


การช่วยเยาวสตรีที่ด้อยโอกาส เพื่อมิให้ตกเป็นเหยื่อของโรคเอดส์และการขายบริการทางเพศ จึงควรเป็นเรื่องซึ่งนับเนื่องอยู่ในความสำคัญอันดับแถวหน้า ไม่แพ้ด้านอื่นๆ ทีเดียว


ครูจันทร์แรมมองเห็น "อันตรายของชีวิต" อันใหญ่หลวงนี้ ตั้งแต่เธอยังเป็นนักเรียนอายุเพียง 13 ปี เธอเป็นเด็กหญิงเพียงคนเดียวในรุ่น ที่ไม่ยอมให้มีการบังคับหรือสนับสนุนให้เดินทางลงมาทางเมืองใต้ เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 เพื่อขายบริการทางเพศ ดังนั้นจึงได้ริเริ่มเปิดการสอนหนังสือให้แก่เด็กผู้หญิงที่

ไร้สัญชาติ เช่น พวกเด็กชาวเขา รวมทั้งเด็กที่ยากจนตามหมู่บ้าน ให้เด็กๆ เหล่านั้นสามารถอ่านออก

เขียนได้ ทำเลขเป็น และมีความรู้รอบตัวเพื่อจะได้ช่วยตัวเองได้


ครูจันทร์แรมเริ่มอุทิศตัวดังนี้ ตั้งแต่เธอมีอายุเพียง 14 ปี เธออยู่ในครอบครัวที่ยากจน แต่ตัวเธอร่ำรวยความคิดสร้างสรรค์และความอุตสาหะ จึงเริ่มต้นอย่างที่เรียกว่า "ตามมีตามเกิด" ด้วยการเปิดใต้ถุนบ้านสอนเด็กๆ เพียงไม่กี่คน จนกลายเป็น "แหล่งความรู้ครูจันทร์แรม" ที่ให้การศึกษาแก่เด็กชายหญิงอายุตั้งแต่ 3-13 ปี จากปีละ 50 ถึง 120 คน ต่อมามีผู้เห็นผลงานและร่ำลือต่อๆ กันไป จึงมีผู้ศรัทธาส่งเสริมและสนับสนุน เช่น มูลนิธิเด็ก นอกจากนั้นก็ปรากฎว่ามีผู้บริจาคสมทบช่วยการศึกษาทั้งในรูปอุปกรณ์

สิ่งของ และช่วยคิดโครงการฝึกวิชาชีพขึ้น


ปัจจุบันนี้ "แหล่งความรู้ครูจันทร์แรม" จึงขยายตัวขึ้นอย่างน่าชื่นชม จากแหล่งสอนอันเป็นบ้านไม้เก่าๆ แบบชนบทภาคเหนือ ขยายมาเป็นตึกแถวที่เลขที่ 118 หมู่ที่ 8 หมู่บ้านป่าเหมือด ตำบลเวียงพางคำ ในอำเภอแม่สาย เช่นกัน เรียกชื่อว่า โครงการบ้านสานขวัญ มูลนิธิครูจันทร์แรม ดำเนินการสอนวิชาความรู้และฝึกวิชาชีพต่างๆ เพื่อช่วยเยาวสตรีที่ด้อยโอกาสในภาคเหนือให้ทำมาหาเลี้ยงชีพได้ โดยไม่ต้องเดินทางสู่เมืองกรุง



บุคคลผู้หนึ่งซึ่งได้อุทิศเวลาช่วยครูจันทร์แรมจนบังเกิดผลคังกล่าว คือ คุณหญิง จำนงศรี รัตนิน ซึ่งผู้อ่านสกุลไทยรู้จักชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านผู้นี้ดีอยู่แล้ว หลายท่านที่ถามหาคุณหญิงจำนงศรีว่า ห่างเหินวงการอ่านบทกวีและว่างเว้นการเขียนหนังสือไปนั้น มิใช่ว่าเธอต้องใช้เวลาดูแลบริหารงานโรงพยาบาลจักษุรัตนิน แเทน ศาสตราจารย์ นายแพทย์อุทัย รัตนิน สามีผู้วายชนม์เท่านั้น แต่คุณหญิงจำนงศรียังได้ใช้เวลาเดินทางไปยัง "แหล่งความรู้ครูจันทร์แรม" และลงมือ "ลุย" งานกับครูจันทร์แรมด้วยการออกไปพบเด็กๆ ตามหมู่บ้าน เยี่ยมเขียนไต่ถามทุกข์สุข และติดต่อบุคคลตลอดจนหน่วยงานต่างๆ เพื่อระดมความช่วยเหลือมาให้แก่ "แหล่งความรู้ครูจันทร์แรม" จนกระทั่งปัจจุบันพัฒนามาเป็น "โครงการฝึกวิชาชีพบ้าน

สานขวัญ" และ "โครงการบ้านสานขวัญมูลนิธิครูจันทร์แรม"


และเราก็ได้พบกับ ครูจันทร์แรม อีกครั้งหนึ่งพร้อมกับ คุณหญิงจำนงศรี รัตนิน ณ ที่สำนักงานของเธอที่โรงพยาบาลจักษุรัตนิน ถนนอโศก "ครูจันทร์แรมลงมาติดต่อหาอุปกรณ์ฝึกวิชาชีพบางอย่าง กำลังจะกลับขึ้นไปพอดี" คุณหญิงจำนงศรี กล่าวพร้อมกับเล่าความเป็นมาของโครงการฝึกวิชาชีพบ้านสานขวัญ


"สาเหตุที่ต้องมีโครงการฝึกวิชาชีพขึ้นอย่างเป็นระบบ ก็เพราะเด็กที่มาฝึกวิชาชีพที่นี่ สามารถจะได้ใบรับรองการศึกษา เผื่อว่าจะมีโอกาสสมัครเข้าเรียนต่อในขั้นสูงต่อไปได้ หรือหากจะไม่เรียนต่อ เด็กก็สามารถทำอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ เราจึงตั้งโครงการขึ้นเพื่อทำหน้าที่ฝึกวิขาชีพให้เด็กผู้หญิง เข่น ตัดเย็บเสื้อผ้าบ้างทำเครื่องเงินบ้าง ทำอาหารและเรียนวิชาเสริมสวยบ้าง แบ่งเวลาการสอนออกเป็นช่วงๆ เป็นกลุ่มๆ ตามแต่เด็กจะถนัดทางด้านอะไร"


หันไปถามครูจันทร์แรมว่า ตอนที่ยังเปิดบ้านให้เป็น "แหล่งความรู้ครูจันทร์แรม" ก่อนจะมาสู่โครงการฝึกวิชาชีพนั้น เธอมีปัญหาอะไรบ้างไหม เราก็ได้รับคำตอบว่า ยังมีปัญหาอยู่มาก


"พ่อแม่บางคนมาตามลูกกลับไป อ้างว่าพวกพี่ๆ ลงไปเมืองใต้แล้วหาเงิน ได้ดี ก็จะเอาคนน้องไปบ้าง ไม่มีการห่วงชีวิตของลูกเลย ว่าจะไปตกระกำลำบากหรือติดโรคร้าย เช่น โรคเอคส์" ครูจันทร์แรม เล่า


"ถึงแม้เด็กๆมาเรียนที่นี่แล้วอ่านออกเขียน ได้ มีความรู้คามที่หวังไว้ก็ตาม แต่เราก็ยังพบว่ามีเด็กนักเรียนที่ถูกขายเข้ากรุงเพื่อค้าประเวณีทุกปี ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะผู้ใหญ่ในครอบครัวติดยาเสพย์ติดบ้าง เด็กบางคน ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริง บางครอบครัวก็มีรายได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ บางคนถูก

คนที่อยู่ในบ้านเดียวกันข่มขืน และมีหลายคนทีเดียวที่ถูกซื้อมาเลี้ยงไว้ตั้งแต่ยังเล็กๆ เพื่อที่จะได้ขายต่อ ไปเมื่อเด็กโตเป็นสาว"


"ไปเห็นสภาพชีวิตจริงๆที่นั่นแล้ว จะรู้สึกน่าสงสารมาก" คุณหญิงจำนงศรีเสริม "เด็กๆ นั้นรักดี อยากเรียน แต่ถูกผู้ปกครองบังคับให้ลาออก ไปขายตัว เด็กหลายคนถูกซื้อถูกจับจองทำสัญญาขายกันไว้ตั้งแต่ยังเพิ่งเดินได้ก็มี เราจึงเห็นว่า ปัญหาการขายเด็กเพื่อค้าประเวณีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่อายุของเด็กที่ถูกขายลดลงอย่างน่าใจหาย นี่แหละค่ะคือที่มาของโครงการฝึกวิชาชีพ ซึ่งเรียกว่า "โครงการ

บ้านสานขวัญ" เราเริ่มปฏิบัติงานกันมาตั้งแต่ต้นปี 2536 เพื่อให้การศึกษาความรู้ ทั้งด้านวิขาชีพและทางด้านสิทธิส่วมบุคคลแก่เด็กๆ ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกนำไปขาย เด็กๆเหล่านั้นจะได้ทั้งมีความรู้ในการประกอบอาชีพ รู้เท่าทันมนุษย์และรู้สิทธิของตน จะได้สามารถช่วยเหลือตนเองได้และช่วยสร้าง

ค่านิยมที่ถูกต้องในชุมชนของตนด้วย"


จากคำบอกเล่าของ คุณหญิงจำนงศรี กับครูจันทร์แรมในวันนั้น ทำให้เราได้ทราบว่าการเริ่มโครงการบ้านสานขวัญในปีแรกสามารถช่วยเด็ก 15 คน ซึ่งมีอายุ 12-15 ปี ให้รอดพ้นจากการขายตัวได้ โดยให้ที่พำนัก

อาศัย พร้อมกับให้การศึกษาและฝึกอาชีพ โดยโครงการเช่าบ้านในตำบลเวียงพางคำ ในราคา 3,000 บาท ต่อเดือนเป็นที่ทำการ


"เมื่อเด็กเรียนจบประถมปีที่ 4 ในปีแรก เด็กๆ จะได้เรียนการตัดเย็บเสื้อผ้าและการทำผม พร้อมๆ กับไปเรียนในระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน


(...อ่านต่อหน้า 68/ เนื้อหาไม่ครบ)


 

จาก: คอลัมน์ผู้หญิงเพื่อสังคมและคุณภาพชีวิต นิตยสาร สกุลไทย ปีที่ 41 ฉบับที่ 2108 อังคารที่ 14 มีนาคม 2538

ดู 155 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page