top of page

LONELINESS

  • รูปภาพนักเขียน: supita reongjit
    supita reongjit
  • 28 พ.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 5 ก.ค. 2567

Chamnongsri Rutnin






Loneliness is sometimes

grey, mute and pale

with claws outstretched

to clutch the heart

and strangle the breath


It sometimes sings

song of a canary

a caged crystal melody

that stares out

at an unhearing crowd


And there are times

when I've seen it gleam

like a dew-fed flower

quiet, pure and calm

looking out of darkness

at the screaming sun


(From: On The White Empty Page)


 

บันทึกท้ายบท

 

สำหรับบทกวี Loneliness คุณหญิงจำนงศรีได้เล่าถึง ‘ความเหงา’  ไว้ว่า

 

“ เรื่องของความเหงา ถ้าเขียนในตอนที่ไปปฏิบัติธรรมจะเขียนออกมาอีกมุมหนึ่งเลย***เราเห็นว่าอะไรเกิดขึ้นในใจเรา มันคือกลไกของความเหงา ทำไมมันถึงได้เกิดมาเป็นความเหงา อันนั้นจะอยู่ใน 'ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง' เพราะเราไปปฏิบัติธรรมแล้วเราเริ่มมองเห็นสิ่งที่มันควรจะเป็น

 

แต่ความเหงาอันนี้ คือการที่พยายามจะอธิบายประสบการณ์ของความรู้สึกที่เกี่ยวกับความเหงา มันจะเป็นคนละแบบกัน เราจะมองความเหงาตามหน้าตาของมัน ไม่ใช่ตามกลไก เราจะมองหน้าตาของมันโดยเขียนถึงมันในรูปลักษณ์ของมันที่เกิดขึ้นกับความรู้สึกของเรา

 

เราจะเห็นเป็น 3 หน้า อันแรกเป็นความเหงาชนิดหนึ่ง ที่มันเหมือนบีบหัวใจ มันเค้นคอ อันนี้เป็นความเหงาที่จะนำไปสู่ Depression

 

ส่วนอีกหน้าของความเหงา อันนี้เป็นหน้าที่มีความสุขและมีความงดงามของมันเอง เหมือนเสียงเพลงของนกที่ไพเราะมากที่ร้องออกมาจากใจ แต่ฝูงชนไม่แคร์เลย ไม่เห็นและไม่ฟัง ซึ่งอันนี้เป็นความเหงาอีกประเภทหนึ่งซึ่งไม่เหมือนประเภทแรกเลย

 

แล้วก็มีบางเวลาที่เราเห็นความเหงามีแสงที่นุ่มนวลและงดงามเหมือนดอกไม้ที่อิ่มน้ำค้าง มันเงียบ สงบ บริสุทธิ์ มันมองออกมาจากความมืด โดยมองมาที่แสงสว่างของพระอาทิตย์ที่จัดมาก โดยมองออกมาจากความมืดที่สงบและงดงาม ความเหงาเป็นเช่นนี้

 

เพราะฉะนั้นอันแรกที่เราเห็นว่ามันมีความหม่นๆ คั้นหัวใจ มันจะหายใจไม่ออก มันเป็นความเหงาที่ทำลาย แต่อีก 2 อันเป็นอะไรที่สร้างความนุ่มลึกให้กับตัวเราเอง เป็นความสุขภายใน มันก็เลยต่างจากความเหงาใน 'ฝนตกยังต้องฟ้าร้องยังถึง' ซึ่งอันนั้นเราเพียงแค่สังเกตว่ามันมายังไง กลไกยังไง มันคนละแบบกัน อันนั้นเป็นบันทึกด้วยสติและสมอง แต่อันนี้มันคือการสัมผัส ไม่มีคำพูดอะไรที่ตรงตามที่อยากจะพูดได้”

 

ในวัย 80 ที่คนวัยเดียวกันจำนวนมากตกอยู่ในความเหงาและว้าเหว่ ‘ป้าศรี’ กลับไม่เหงา ไม่ใช่เพราะมีครอบครัวและบริวารรายล้อม ตรงกันข้ามหลายครั้งที่เลือกปลีกวิเวกไปอยู่ตามลำพังอย่างเป็นสุขและ ‘ไม่เหงา’

 

“สำหรับตัวเองตอนนี้มันไม่เหงาเลย เหมือนเรามาถึงจุดหนึ่งที่อยู่คนเดียวก็ไม่เหงา แต่อันนี้มันอาจจะเป็นก้าวที่เราผ่านมาแล้ว เดี๋ยวนี้เราก็ไม่เหงาเลย ทั้งที่เมื่อก่อนเป็นคนเหงาเก่งมาก ทางที่ผ่านมามันจึงเป็นอะไรที่มีค่า และการวิเคราะห์มันก็เป็นอะไรที่มีค่า..และอยากจะให้คนอื่นๆ รวมถึงลูก หลานได้เข้าใจ” 

(28 กรกฎาคม 2565)


 

****เจ้าตัวเหงา

(จากหนังสือ ฝนตกยังต้องฟ้าร้องยังถึง)

 

เจ้าตัวเหงา...อยู่ไม่ห่างจากเจ้าตัวเบื่อสักเท่าไร 

แตกรากผลิใบจากความอยากเหมือนกัน

อยากหนีออกจากตัวเอง  

อยากให้มีใครอื่นมาเข้าใจ 

ใจดิ้นรนออกไปไขว่คว้า หวนไห้ โหยหา

วิธีแก้ก็เหมือนแก้เบื่อนั่นแหละ

มองลึกเข้าไปข้างในที่ใจ  จ้องดูความนึกคิด

ดูเข้าไปสิ  ดูลึกเข้าไป 

ต้องระวังไม่ถลำหลุดเข้าไปในบ่วงคิด

 

ปราบเจ้าตัวเหงายากกว่าเอาชนะเจ้าตัวเบื่อ 

เพราะความสงสารตัวเองเข้ามาเป็นใหญ่

เข้ามาพองคับอยู่ในความโหว่ข้างใน  

ความโหว่ที่ปิดไว้ไม่ให้ตัวเองเห็น

ดูหน้าเจ้าตัวเหงาให้เห็นซิ

มองเข้าไปให้เห็นชัดได้เมื่อใด มันก็จะตายสนิท


 

 

Kommentare


Final Logo.png

ที่อยู่:
Bangkok Thailand

Email: 

ส่งข้อความหาเรา
แล้วเราจะติดต่อกลับในไม่ช้า

ขอบคุณสำหรับการติดต่อ

bottom of page