top of page

ดุจนาวากลางมหาสมุทร




“กาลเวลาและความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติได้ทำให้ 'จึงลิ้ม' เมืองท่าที่ครั้งหนึ่งเคยเป็น ‘ศูนย์รวมและแหล่งกระจายสินค้าที่นำเข้าและส่งออก ในท่าเรือมีเรือสินค้าจอดอยู่นับร้อยๆ ลำ’ กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่เงียบเหงาเศร้าโทรม มีเพียงสายไฟที่ระโยงระยางไปตามตัวตรอกซอกซอย กับเสาโทรทัศน์ที่หร็อมแหร็มขึ้นมาจากหลังคาบ้านอันล้วนมีอายุร่วมร้อยปี ที่บ่งให้เห็นว่าคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เอื้อมมือมาแต้มรอยที่ตรงนี้แล้ว” (น.25)




การเดินทางย้อนกลับไปยังผืนดินเกิดของบรรพบุรุษ ประกอบกับการรับฟังเรื่องเล่าของต้นตระกูลบนแผ่นดินจีน เมื่อนำมารวมกับเรื่องราวการตั้งรกรากและเติบโตบนแผ่นดินไทย ทำให้เรื่องของตระกูล “หวั่งหลี” ที่ผู้เขียนคือ คุณหญิงจำนงศรี คาดว่า เล่าไปสัก 20 หน้าก็คงจบแล้ว กลายเป็นหนังสือที่มีความยาวมากกว่า 200 หน้า


ผลงานการสืบสาวเรื่องราวของตระกูล ที่ย้อนกลับไปยาวนานกว่า 600 ปี ให้ภาพครอบครัวชุมชนและชาติ ที่สัมผัสได้ถึงเลือดเนื้อชีวิต เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึก นอกเหนือจากอัดแน่นด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ หนังสือขนาดใหญ่เล่มนี้ อ่านได้โดยไม่รู้สึกว่ายาว ด้วยความเข้มข้นของเนื้อหา ตั้งแต่การก่อร่างสร้างตัวของ ‘ผีน้ำฮุก’ ผู้เก็บทีละเบี้ยในปล้องไผ่ จนเป็นเจ้าของกองเรือสินค้า มาจนถึงช่วงเวลาการประคองตัวท่ามกลางมรสุมการเมืองยุคสงครามบนแผ่นดินใหม่ ในระหว่างนั้นยังมีเรื่องราวของผู้หญิงที่โอบอุ้มให้การตั้งรกรากในแผ่นดินใหม่มั่นคง เติบโตสมบูรณ์


ที่สำคัญ เรื่องราวมากมายทั้งจากหลากหลายปากคำและแหล่งข้อมูล ได้รับการถักทอเข้ามาเป็นแก่นเรื่องที่งดงามด้วยภาษาที่ปราณีต สะท้อนให้เห็นสัจจะธรรมของชีวิต ที่ล้วนแล้วอยู่ใต้กระแสความเปลี่ยนแปลง


คำนำ


ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวครีวงศ์ นักประวัติสาสตร์คนสำคัญของไทย ได้เขียนคำนำหนังสือ ดุจนาวากลางมหาสมุทร ฉบับปรับปรุง จัดพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค พ.ศ. 2541 ไว้ดังนี้


"เพียงแค่ภาพประกอบอย่างเดียว หนังสือเล่มนี้ก็น่าดูน่าอ่านจนไม่ต้องบรรยายอะไรอีกแล้ว เพราะ

หลายภาพด้วยกันเพิ่งเคยถูกพิมพ์เป็นครั้งแรกและเป็นภาพที่หาชมได้ยาก ล้วนเก็บประวัติเรื่องราว ไม่ใช่ของคนในตระกูลหวั่งหลีเพียงอย่างเดียว แต่หากดูในรายละเอียดแล้ว ก็จะเห็นประวัติเรื่องราวของสังคมไทยหลายอย่างอยู่ในภาพเหล่านั้นด้วย


เนื้อความของหนังสือก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน แม้ว่าแก่นของหนังสือคือเรื่องราวของคนในตระกูล

หวังหลี นับตั้งแต่บรรพบุรุษคนแรกที่ขยายกิจการพาณิชย์เข้ามาสู่ประเทศไทย สืบลูกสืบหลานมาจนถึงรุ่นหลังๆ แต่วิถีชีวิตของคนเหล่านี้สะท้อนวัฒนธรรมประเพณี ความคิดและความแปรเปลี่ยนของคนเชื้อสายจีนในเมืองไทยเป็นระยะเวลาที่สืบเนื่องกันกว่าศตวรรษ


เขาทำงานอะไร ถูกสอนมาอย่างไร แต่งงานสร้างครอบครัวกับสาวลูกครึ่งจีนได้อย่างไร เลี้ยงลูก

อย่างไร หวังอะไรจากชีวิตของเขาและของลูก คิดถึงเมืองจีนอย่างไร และคิดถึงเมืองไทยอย่างไร... และดังที่กล่าวแล้วว่า หนังสือเล่มนี้บันทึกความแปรเปลี่ยนในสิ่งเหล่านี้ด้วย ถ้าอ่านด้วยความสังเกตก็จะเห็นความแปรเปลี่ยนที่เกิดขึ้นกับคนแต่ละรุ่น ซึ่งเท่ากับเป็นการบันทึกความแปรเปลี่ยนที่เกิดกับกลุ่มคนเชื้อสายจีนในเมืองไทยอื่นๆ ไปพร้อมกัน


อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่หนังสือประวัติศาสตร์ ความสนใจของผู้เขียนเพ่งเล็งที่จะเล่าประวัติของตระกูล

ดังนั้น ผู้เขียนจึงสอบค้นพฤติกรรมและความเป็นไปของบุคคล โดยไม่ค่อยให้เนื้อที่แก่บริบททางสังคมของพฤติกรรมเหล่านั้น เช่น ผู้เขียนอาจชี้ให้เห็นว่า ในที่สุดแล้วคนจีนก็สามารถเอาชนะฝรั่งในธุรกิจค้าข้าวในเมืองไทยได้ แต่ก็ไม่ได้เล่าว่า คนจีนอาศัยเครือข่ายความสัมพันธ์ที่กว้างขวางในการเก็บรวบรวมข้าวจากท้องนามาได้อย่างไร หรือคนจีนใช้เงื่อนขอะไรในการลดโสหุ้ยการค้าของตน ในขณะที่ฝรั่งทำไม่ได้ เป็นต้น บริบททางสังคมเหล่านี้มักไม่ค่อยกล่าวถึง


แต่ถ้าผู้อ่านเข้าใจบริบททางสังคมเหล่านั้นอยู่แล้ว หนังสือเล่มนี้กลับเพิ่มสีสันให้แก่อดีตที่เรารู้

จากดำราเป็นอย่างยิ่ง เหมือนหนังสือประวัติบุคคล อัตชีวประวัติ และประวัติตระกูลทั้งหลาย มักเป็น

เลือดเนื้อสีสันของประวัติศาสตร์เสียยิ่งกว่าตัวงานประวัติศาสตร์โดยตรง งานเขียนประเภทนี้เป็น

ลมหายใจที่ยังอุ่นอยู่ของประวัติศาสตร์


ผู้เขียนกล่าวเองว่า ไม่เคยสนใจเรื่องราวของตระกูลตนเองอย่างจริงจังมาก่อน จนเมื่อมาทำหนังสือ

เล่มนี้ ในกระบวนการอันยาวนานและยากลำบากที่จะรวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมทำหนังสือ

ส่วนที่เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือ ความรู้สึกที่ทำให้ผู้อ่านเข้าถึง ความพอใจอย่างลึกๆ ของผู้เขเขียนเอง ซึ่งได้ค้นพบรากเหง้าของตนเอง และด้วยเสน่ห์อันนี้ของหนังสือ ก็ทำให้คนเชื้อสายจีนในเมืองไทยซึ่งครั้งหนึ่งถูกกำหนดให้เป็น 'คนนอก' ได้ความรู้สึกอย่างเดียวกันว่า ส่วนหนึ่งของรากเหง้าของตัวนั้นอยู่ในสังคมไทยนี่เอง นับเป็นความรู้สึกที่ให้พื้นที่ยืนแก่คนเชื้อสายจีนได้อย่างมั่นคงขึ้น อย่างน้อยก็ในความรู้สึกของตัวเอง

หนังสือเล่มนี้อ่านเพลิน แม้แต่คนที่ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ของจีนในเมืองไทย เพราะหนังสือเล่มนี้

ตั้งใจเขียนให้ไพเราะ และภาษาที่ไพเราะนั้นขับความดื่มด่ำให้แก่การอ่านของทุกคน"



เบื้องหลังหนังสือ


คุณหญิงจำนงศรี ได้เล่าถึงเบื้องหลังหนังสือเล่มนี้ไว้ใน "จากผู้เขียน" ว่า


"ถ้าเราจะเปรียบ ดุจนาวากลางมหาสมุทร กับเรือและการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้กับท่าเรือ ดุจนาวา กลางมหาสมุทร ก็ออกจากอู่ต่อเรือมาได้ถึง 22 ปีเศษ จากนั้นก็ล่องวารีอย่างงามสง่า จากท่าสู่ท่า

มาจนถึงวันนี้ แต่ละท่าที่นาวาลำนี้เข้าเทียบ ก็มีเหตุให้คนต่อเรือได้เก็บเกี่ยวสารพันสิ่งมาเติมต่อเรือให้สมบูรณ์แบบขึ้นเรื่อย ๆ ณ วันนี้ ข้าพเจ้าอิ่มในใจอย่างยากที่จะอธิบาย ที่ ดุจนาวากลางมหาสมุทร กำลังจะเข้าเทียบท่าดั้งเดิมที่ โคตรเหง้าของคนต่อเรือได้หยั่งรากในแผ่นดินสยามเมื่อร่วม 151 ปีมาแล้ว คือ ฮวยจุ่งโล้ง ที่เพิ่งจะกลาย มาเป็น ล้ง 1919


ดุจนาวากลางมหาสมุทร ตีพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง เริ่มจากการเป็นหนังสือที่เขียนโดยไม่เคย

คิดฝันว่าจะเขียน และเขียนเสร็จเร็วที่สุดในชีวิตนักเขียนไร้วินัยอย่างข้าพเจ้า คือ 4 เดือน เพื่อเป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายสุวิทย์ หวั่งหลี ผู้นำของตระกูลหวั่งหลีในยุคนั้น โดย

ที่ผู้จัดทำระบุชัดเจนว่า

"เพื่อให้ผู้อ่าน ได้เห็นภาพสะท้อนของการต่อสู้ ความรัก ความสำเร็จ ความผิดหวัง ความทุกข์ ความสุข และความแปรเปลี่ยนที่มีอยู่ในชีวิตทุกชีวิต... ประวัติตระกูลก็เหมือนประวัติของบุคคล มีความผันแปรเป็นธรรมดา"

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 ความตายอย่างนึกไม่ถึงของ พี่สุวิทย์ หวั่งหลี ในตำแหน่งนายก

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดการประชุมอย่างเร่งด่วนในวงญาติเพื่อจัดทำหนังสือ

อนุสรณ์ฯ ตกลงกันว่าจะทำหนังสือภาพสวย ๆ ที่สื่ออดีตกับปัจจุบันของตระกูลหวั่งหลี แต่เมื่อไม่สามารถหาภาพถ่ายเก่าๆ ได้เพียงพอ จึงหันมาคิดทำประวัติตระกูลแทน ภาระหน้าที่ตกเป็นของข้าพเจ้าในฐานะนักเขียนคนเดียวในเครือญาติ (ณ วันนั้น) ซึ่งถึงแม้ข้าพเจ้าจะเกิดในตระกูลล่ำชำ แต่ก็มีเลือดหวั่งหลีในสายโลหิตถึงสามในสี่ส่วนจากทั้งย่าและแม่


เมื่อแรกเริ่ม ข้าพเจ้าไม่รู้แม้กระทั่งชื่อทวด ผู้เป็นต้นตระกูลหวั่งหลี ส่วนหนึ่งเพราะไม่เคยนึกสนใจ

อีกส่วนหนึ่งเพราะการจำชื่อจีนเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับข้าพเจ้า ซึ่งมีความรู้สึกเป็นคนไทยเต็มร้อย ข้าพเจ้านึกท้อว่า ประวัติหวั่งหลีคงจะมีให้เขียนสัก 25 หน้า แถมยังอาจจะแห้งแล้งน่าเบื่อเสียด้วย ทำเอาญาติพี่น้องพากันเป็นห่วงเป็นใย สุเทพ หวั่งหลี รีบให้กำลังใจด้วยการเล่าเรื่องเก่า ๆ ที่เคยฟังมาจากอาม่าหรือคุณย่าเมืองจีน เป็นการเล่าเรื่องที่เต็มไปด้วยเกร็ดและอารมณ์ขัน ส่วนวุฒิชัย หวั่งหลี ก็ได้ลำดับเรื่องราวจากคำบอกเล่าของบิดา นอกจากนั้น อรนุช จันทวิมล ก็ได้อาสาจัดทำสาแหรกตระกูลด้วยความเต็มใจ นับเป็นการจุดประกายให้เกิดความมั่นใจว่ามีเรื่องราวที่น่าจะค้นหาได้อีกไม่น้อย





จากนั้น พี่เต่า-สุกิจ หวั่งหลี ก็จัดให้ข้าพเจ้าเดินทางไปเมืองจีนกับอภิชาต หวั่งหลี และ อัจฉรีย์ โดย

มี ทวีนฺช จ่างตระกูล ผู้เป็นน้องสาวข้าพเจ้า และนิวัฒน์ วชิรปราการสกุล (หลงจู๊เต็ง) ร่วมทางไปด้วย คณะของเราไปค้างคืนที่ชัวเถาก่อนที่จะเดินทางไปหมู่บ้านโจ่ยมุ่ย (เฉียนเหม่ย) ในอำเภอเท่งไฮ่ประมาณ 30 กิโลเมตรจากตัวเมือง


ที่โจ่ยมุ่ยและ จึงลิ้ม(จางหลิน) เราได้ยินได้ฟังเรื่องราวบรรพบุรุษจากญาติและบริวารเก่าแก่ แต่ละคนดูมีความสุขในการเล่าเรื่องเก่า ๆ ในความทรงจำ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าประตูอดีตเปิดกว้างให้เราก้าวเข้าไป ไม่ใช่ในฐานะแขก แต่ในฐานะลูกหลานจากแดนไกล





เมื่อกลับจากเมืองจีน เราต่างก็เริ่มทำงาน ข้าพเจ้าได้พบปะคนในตระกูลหวั่งหลี ล่ำซำ บุลสุข

และชัยเฉนียน หลายต่อหลายท่านได้ช่วยเล่าความทรงจำจากมุมมองของคนในครอบครัว การค้นพบข้อมูลแต่ละอย่างนำไปสู่การคันพบข้อมูลอื่นๆ อีก จนบางครั้งข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนเป็นนักสำรวจที่เดินตามสายธารเล็กๆ ที่ค่อยๆ กว้างขึ้นจนกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่


ในการสำรวจข้อมูลมีพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร เป็นมือขวาด้านการค้นคว้าฝ่ายไทย แรงสำคัญในการ

หาข้อมูลฝ่ายจีนคือ หลงจู๊เต็ง ถึงแม้จะมีบางครั้งที่หลงจู๊เต็งถามยิ้ม ๆ ว่า "คำถามนี้จำเป็นด้วยหรือครับ" แต่ก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะทำหน้าที่ล่ามไทย - แต้จิ๋ว แปลคำถามเหล่านั้น รวมทั้งการติดต่อโทรสารกับทางเมืองจีน เพื่อขอรายละเอียดต่าง ๆ ที่ข้าพเจ้าต้องการ


ชื่อ ดุจนาวากลางมหาสมุทร ปรากฎในใจผู้เขียน เมื่อได้เขียนเรื่องไปไกลแล้ว การพยายามที่จะ

ลำตับเหตุกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้คันพบเกี่ยวกับบรรพบุรุษ ทำให้รู้สึกแจ่มชัดว่า

ชีวิตดำเนินไปในวิถีของเวลา เหมือนเกลียวคลื่นที่เกิดขึ้นแล้วก็หายไป ไม่เหลือให้จับต้องได้อีก จากนั้นก็นึกเลยไปมองชีวิตเหมือนเรือสำเภาที่บรรพบุรุษหวั่งหลีใช้เดินสมุทร ไต้ก๋งหรือกัปตันเป็นผู้นำเรือสำเภาไปในเส้นทางที่ตนเลือก แต่เมื่อพายุบ้าฟ้ากระหน่ำ ระตากรรมของเรือก็มีได้ขึ้นอยู่กับฝีมือได้ก๋งแต่อย่างเดียว บางครั้งได้ก๋งเองก็คงรู้สึกถึงความอ้างว้างเดียวดายในขณะที่เรือลอยลำอยู่กลางมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ มองไปทางไหนก็ยังไม่เห็นฝั่ง

หลังจาก ดุจนาวากลางมหาสมุทร แพร่ออกไปจากการแจกในงานพระราชทานเพลิงฯ ข้าพเจ้าก็ได้รับการติดต่อจากสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในวารสารของสมาคม ต่อมาสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ก็มาขอนำไปตีพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คเพื่อจัดจำหน่าย

ดุจนาวกลางมหาสมุทร กลายเป็นหนังสือขายดี ขึ้นอันดับขายดีในร้านหนังสืออยู่เนิ่นนาน และได้รับการตีพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คถึง 9 ครั้ง


หนังสือ ดุจนาวากลางมหาสมุทร สมบูรณ์แบบขึ้นตามลำดับ จากการที่ข้าพเจ้าได้รับข้อมูลเพิ่มเติม ตลอดจนการตั้งคำถามจากผู้อ่านที่ติดต่อเข้ามาทางจดหมายบ้าง การนัดพบเพื่อพูดคุยบ้าง ส่วนข้อมูลที่ได้รับเพิ่มเติมทางประวัติศาสตร์สังคมที่เป็นบริบททางวิชาการและมีรายละเอียดมากเกินกว่าจะนำมาสอดสานให้กลมกลืนกับการเล่าเรื่องราวของตระกูลได้ ข้าพเจ้าก็ได้จัดทำแยกเป็นกลุ่มบทความท้ายเรื่อง และทางด้านสำนวนก็ใด้ใช้โอกาสนี้ แต่งเติมแก้ไขให้น่าอ่านขึ้นในบางวรรคบางตอน


ข้าพเจ้าขอขอบคุณ คุณฐาวรา หวั่งหลีและคุณสายใจ (หวั่งหลี) เจศรีชัย ตลอดจนญาติทุกคนในตระกูลหวั่งหลีที่ให้โอกาสข้าพเจ้าได้เรียนรู้มากมายจากการค้นคว้าศึกษาเรื่องราวของลุง ป้า ตา ทวด ความใกล้ทางสายเลือดทำให้การเรียนรู้นั้นสดด้วยอารมณ์และชีวิตชีวา ส่วนการเขียนนั้นก็ได้ขยายมิติของการเรียนรู้ให้กว้างและลึกลงไปอีก ฉะนั้น สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการเขียน ดุจนาวากลางมหาสมุทร มีค่ามากมายเกินกว่าแรงและเวลาที่ข้าพเจ้าได้ทุ่มเท...


และ สำคัญที่สุดคือ ความกล้าที่จะก้าวไปข้างหน้าโดยมีสติรู้ว่า อนาคต คือความไม่แน่นอน"


คุณหญิงจำนงศรี (รัตนิน) หาญเจนลักษณ์

13 ธันวาคม พ.ศ. 2560



 

ข้อมูลหนังสือ

ผู้เขียน คุณหญิงจำนงศรี (รัตนิน) หาญเจนลักษณ์

บรรณาธิการ พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร

พิมพ์ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสุวิทย์ หวั่งหลี พ.ศ.2538

พิมพ์ครั้งที่ 10 สิงหาคม 2561 โดย บริษัท ชิโน พอร์ท จำกัด




ดู 37 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page