top of page

มิติใหม่ในเพลงกวี

ผสานสองศิลปะที่ชื่นฉ่ำใจ


คุณหญิงจำนงศรี รัตนิน และอาจารย์เทพศิริ สุขโสภา อ่านบทกวี คุณดนู ฮุนตระกูล(หันหลัง) กำกับวงดนตรี

ภาพจากงานแสดงดนตรีประกอบบทกวี เบิกหล้าฟ้าใหม่



เย็นวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ อันเป็นวันรถติดวินาศสันตะโรวันหนึ่งของปี ผู้รายงานถูกพา (โดยคนขับรถกิตติมศักดิ์) เข้าไปพุ่งติดอยู่กับป้ายจราจรสีแดงขาว ที่ยืนยันว่าห้ามตรงไป ทั้งที่เคยตรงไปได้ และนับแต่นาทีนั้นเป็นต้นมา หัวใจของผู้รักในรสบทกวีก็ระงมยินแต่เสียงเพลงกวี 15 นาที 20 นาที 30 นาที จนเป็นชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง...และสองชั่วโมง...กว่าจะถึงศูนย์สังคีตศิลป์ ผ่านฟ้าได้ ก็ระบมในหัวใจเหลือกำลัง แต่อย่างไรก็ดี ทางฝ่ายบรรณาธิการไม่ยอมเลิกล้มพันธะสัญญา ให้ทั้งเทปวีดีโอ และเทปอัดเสียงมาเพื่อการรายงานโดยเฉพาะ


รายการอภิปรายครั้งนี้ชื่อว่า มิติใหม่ในเพลงกวี มีลักษณะเป็นการอภิปรายและการสาธิตไปพร้อมกัน

ผู้ดำเนินรายการ คือพิธีกรของรายการ แวดวงวรรณกรรม จากช่อง 11 คือ รองศาสตราจารย์รื่นฤทัย

สัจจพันธุ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และผู้ร่วมอภิปรายคือ คุณดนู ฮันตระกูล นักคนตรี เจ้าของวง

ดนตรีศศิลิยะ วงดนตรีไหมไทย และเป็นผู้เป็นเจ้าของรายการอภิปรายในครั้งนี้ คุณหญิงจำนงศรี รัตนิน กวีเจ้าของผลงาน On The White Empty Page ซึ่งได้รับการถ่ายทอดไปสู่ผู้ฟังในหลายๆ รูปแบบด้วยกัน และ คุณเทพศิริ สุขโสภา นักเขียน กวีและนักเล่านิทาน เจ้าของผลงาน บึงหญ้าป่าใหญ่ อันเลื่องชื่อ



คุณดนู ได้รับการเชื้อเชิญให้กล่าวถึงคำว่า มิติใหม่ในเพลงกวี เป็นคนแรก เขาได้เล่าถึงความเป็นมาของเพลงกวีว่า


"เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมได้เริ่มกิจกรรมดนตรีร่วมสมัย ก็ชักขวนเพื่อนฝูงหลายคนมาเล่นกันเป็นเพลงสมัยใหม่ แต่งกันขึ้นมาเอง แล้วก็เอาเครื่องคบตรีแปลกๆทั้งของไทย ฝรั่ง จีน จาม...อะไรต่างๆ มาทุบมาตีเป็นเสียงแปลกขึ้น ซึ่งตัวเราเองก็ไม่เคย ได้ยินมาก่อน ตั้งชื่อว่า วงภาคีวัดอรุณ ภายใน ๑ ปีเราก็พิสูจน์ได้ผลทันทีว่าเราคงทำอย่างนั้นต่อ ไปไม่ได้


เราก็มาคิดอูว่า เอ...มันมีวิธีการอะไรดี ที่จะแก้ปัญหาของเราได้ ก็เลยมาจับจุดตรงที่ว่าเพลงที่เรา

เสนอนั้นเป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง ไม่มีรำ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น คือเป็นนามธรรม ไปหมด ก็เลยคิดว่า ถ้าเราทดลองเอาดนตรีมาร่วมกับสื่ออย่างอื่น เมื่อมารวมกันแล้วจะสนุกขึ้น หรือจับต้องได้มากขึ้น...ถ้าเป็น

เพลงหนัง มันก็ค่อนข้างแพงเพราะต้องไปทำหนังก่อน ถ้าทำเพลงละครก็ต้องทำละครก่อน แต่ถ้าเป็นเพลงร้อง คือเป็นเพลงแล้วมีคนมาร้อง ก็ทำได้ง่ายอย่างที่เขาทำๆกัน แต่ไม่ค่อยน่าสนใจ


"ก็ลองๆ คิดดูว่า เรามีวงการวรรณกรรมที่กำลังตื่นเต้นกับบทกวีกันมากอยู่ ถ้าเราเอาดนตรีกับกวีมา

รวมกันแล้วนำเสนอออกไป ก็น่าจะสนุก น่าจะได้รับการต้อนรับจากคนที่สนใจ ในด้านการดนตรีใหม่ๆ

และในด้านของคนที่สนใจเรื่องของกวีอยู่แล้ว..."

.

"...ในที่สุด ผมก็ทดลองกับผลงานกวีของ 4 ท่าน คือ อุชเชนี จ่าง แซ่ตั้ง อังคาร กัลยาณพงศ์ และ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ก็เลือกบางบทมาแล้วก็ลองทำคนตรีเข้าไป ครั้งแรกเปิดการแสดงที่จุฬาฯ ในชื่อ

ว่า ลมหายใจกวี ปรากฏว่ามีทั้งชื่นชมและ ไม่ชื่นชม ซึ่งเป็นธรรมดา การเสนองานก็ย่อมมีทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ...และก้อนอิฐก้อนหนึ่งซึ่ง ไปชมงานนั้นด้วย ก็ได้ติเตียนผมหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการอ่าน

คือครั้งผมก็ทำไปในเรื่องของดนตรี แล้วผมก็นึกว่าการอ่านนี่ผู้อ่านจะจัดการตามบทบาทของเขาได้ และผมก็ไม่รู้เรื่องอะไร ก้อนอิฐก้อนนั้นก็มาลงตรงศีรษะผม แล้วก็บอกว่าต่อไปนี้ห้ามทำอย่างนี้อีกเป็น

เด็ดขาด คนๆ นั้นก็คือ คุณหญิงจำนงศรี รัตนิน แล้วหลังจากนั้น เราก็เลยมีโอกาสที่จะได้แก้ไขการทำงานในลักษณะ ที่เรียกว่า เพลงกวี และก็มีโอกาสที่จะเสนอผลงานออกมาอีกหลายครั้ง..."


คนฟังเริ่มสนุก คุณหญิงจำนงศรี รีบเสริมส่วนที่เกี่ยวก้อนอิฐว่า "ดิฉันขว้างก้อนอิฐก้อนนั้นด้วยความรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ เพราะว่าเป็นคนที่ขอบฟังอะไรแล้วก็ติเขา ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเราทำได้หรือเปล่า...ทำอย่างนั้นมาบ่อยๆ ไม่นึกว่าจะเจอคนจริง ขว้างเขาไปแล้ว เขาก็บอกว่า มาทำสิ อันนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้น การจัดงานครั้งต่อมา ดิฉันจึงอาสาอ่าน "ขอบฟ้าขลิบทอง" อุชเชนี ให้ แล้วก็อ่าน "อย่าทำน้ำไหว" ของ เนาวรัตน์ ต่อๆมา...."


อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างไม่ง่ายอย่างที่คิด คุณหญิงได้เล่าอุปสรรคเล็กๆ ที่ค่อนข้างแปลกให้ฟังว่า


"..ดิฉันเป็นคนผิดปกติในเรื่องของหู ในการฟังดนตรี เคยมีอาจารย์ทางดนตรีคนหนึ่ง ได้ทำเทสต์ให้ว่าดิฉันหูบอดทางดนตรี จะฟังโน้ตเพี้ยนไปครึ่งโน้ตเสมอ พอมาทำกับคุณดนู ก็เป็นเรื่องยากมากสำหรับดิฉัน...แต่ทำไมดิฉันจึงบังอาจไปตำหนิคุณดนู ดิฉันคิดว่าคงเป็นเพราะว่าในทางภาษาดิฉันมีทดแทนสิ่งที่ขาดทางดนตรีได้ ดิฉันได้ยินทำนองและจังหวะในภาษา ในบทกวีต่างๆ มาตั้งแต่ยังเล็ก คุณยายชอบให้อ่านบทกวีให้ฟังมาตั้งแต่ยังอ่านหนังสือไม่ค่อยออก เรียกได้ว่าจังหวะและทำนองในภาษา มันอยู่ในใจตลอดเวลา..."


"นอกจากนั้น เรื่องของภาพ เส้น สี ที่มีอยู่ในภาษา ก็มีอยู่ เรามองเห็นภาพ เราได้ยินดนตรีในภาษา ก็เลยพูดกับคุณดนูให้ลองพยายามคลำดูว่า จังหวะกับภาษาภาพในบทกวีมันจะมาเข้าจังหวะกับจังหวะภาษาภาพที่มีอยู่ในดนตรีได้อย่าง ไร... "


คุณหญิงจำนงศรี ได้กล่าวยืนยันความไม่สามารถแปลบทกวีของตนเอง ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ เพราะมีความรู้สึกว่างานนั้นได้ผลิตออกไปแล้วและไม่สามารถย้อนเอากลับมาทำใหม่ได้


"คล้ายๆมัน ไม่ใช่ของเราแล้ว มันหลุด ไปแล้ว แม้จะเป็นการแปลงานของตัวเอง แม้จะมีฝีมือ ก็คงแปล ไม่ได้อารมณ์หรอก มีความรู้สึกว่าอารมณ์นั้นเอากลับคืนมา ไม่ได้...."




คนที่แปลงานของคุณหญิงจำนงศรีเป็นภาษาไทยอีกครั้งก็คือ คุณเทพศิริ สุขโสภา ผู้มีวิญญาณของความเป็นกวี เขาได้เล่าถึงความเข้าใจที่แตกต่างกันระหว่างผู้เขียนกับผู้แปลให้ผู้ฟังได้หัวเราะกันอย่าง

สนุกสนาน แล้วจึงได้เล่าถึงบทบาทการขึ้นเวทีของเขา ในฐานะนักอ่านบทกวีแบบใหม่ มิใช่นักเล่านิทานอย่างที่เคยทำในหมู่บ้านในชนบท เขาว่า


"....ผม ไม่ถนัดเวทีในร่ม แต่ถ้าที่โล่งๆ ดาวเต็มฟ้าละก็ อย่างนั้นผมคึกคัก ผมไม่ใช่คนที่จะมาทำงานในที่อย่างนี้ เวลาเอาผมมาขึ้นเวที ผมพูดเยอะ ไปมั้ย (มองหน้าผู้ฟัง-ฮา) เวลาเอาผมขึ้นเวที มาทาแป้ง แต่งปาก เอาชิเชโด้มาเคลือบแล้วเคลือบอีก ให้ผมมายืนอ่าน ปล่อยควันขึ้นมา ผมก็ขาสั่น ผมเคยเล่านิทานมาเป็นสิบๆ ปี ผมมันเป็นคมอยู่กลางทุ่งกลางฝน ฝนพรำย่ำโคลนไป หรือเหงื่อซ่ก แดดร้อน ฝนตกเป็นโคลน ฝนแล้งเป็นฝุ่น อะไรพวกนี้ ผมถนัดนัก


"แล้วเสียงมันจะออกมาจากข้างใน ของที่อยู่รอบๆ ตัว มันจะกระทุ้งเข้าไปข้างใน เราสั่งคำได้ แต่พอต้องมายืนในห้องแอร์ ปากคอก็สั่น กางเกงมันก็ดันสั่นด้วย (ฮา) ผมรู้ว่ามีคนเห็น เวลาเราอยู่บนเวที ใครเห็นเราตรงไหนบ้าง ผมพยายามจะหยุดขาให้ได้ แต่มันก็สั่น..." คุณเทพศิริ สุขโสภา ได้ยกตัวอย่างภาพ

รูปธรรมของการขึ้นเวทีอ่านในงานเผาเทียนเล่นไฟ ของจังหวัดสุโขทัย ให้ฟังพอเป็นตัวอย่าง ให้เห็นภาพกันเป็นที่บันเทิงเริงใจ


"...ผมเป็นคนยืนอ่านนะ ไปยืนข้างๆ เสาศิลาแลงพรุนๆ ยืนทาบเสาเข้าไว้ พอถึงบทที่ผมจะพูดนะ...ความหายนะของสุโขทัย ไฟมันก็หรี่ลง พวกพ่อค้าแม่ขาย ใครใคร่ค้า ค้า วิ่งกันกระเจิงเข้าเวที เข้าโรง ไม่ถูก มันพลัดพ่อพลัดแม่มัน แล้วไฟก็หรี่ลงๆ ความหายนะมาถึงสุโขทัยแล้ว ตอนนั้นคนกำลังจะร้องไห้ ผมต้องออกมาอ่านละนะ ผมก็ยืนพิงเสาอยู่ เวลาเขาให้เครื่องมา ผมไม่ถนัดไอ้ตัวนี้ ผมไม่รู้ว่าจะพูดใกล้ พูดไกลแค่ไหนจึงจะดี เวลาถือแบบนักร้อง ผมยิ่งงงใหญ่เลย ผมถนัดปากเปล่า เขาก็ให้ไอ้ตัวนี้ เป็น

สี่เหลี่ยมเล็กๆ เอามาเสียบตรงเอวผมนะ เอาสายลอดเข้ามาหนีบเสร็จแล้วก็มีสายห้อย...คนคุมเสียงเขาบอกว่าเวลาหรี่ไฟลง เขาจะหยุดเทปแล้วเขาจะปรับเครื่องให้ผมเริ่มอ่าน


"เขาบอกว่า อย่าอ่านเร็วนะ เพราะว่าตอนเขาปรับ เขาต้องมีเวลานิดหน่อย ถ้าจะอ่าน ให้อ่านเบาๆ ก่อน ผมก็ยืนรอระหว่างเสาสองเสา ผมยืนรอ เห็นเสาศิลาแลงเป็นเสาๆ แล้วก็มีเจดีย์ มีพระนั่งทะมึนอยู่ แล้วก็เคลื่อนตัวออกมา เอามือออกมาก่อน เราอยู่ไกล เราต้องมีท่า...เอามือออกมาก่อน แล้วก็ขึ้นเสียงเบาๆ โอ้ สุโขทัยเมืองแก้ว โอ้สุโขทัยเมืองแก้ว เอ๊ะ เสียงมัน ไม่ออกแฮะ (ฮา) ผมเคลื่อนไปหาเสาซ้าย แล้ว

ก็หันกลับมาทางเสาขวา โอ้สุโขทัยเมืองแก้ว โอ้ สุโขทัยเมืองแก้ว ไม่มีเสียง ผมเอามือลูบเอว สายมันหายไปแล้ว (ฮา)


"คือก่อนที่จะขึ้นเวที เด็กมันมารุมแล้วก็เรียกลุงเทพๆๆ แล้วเด็กๆ ก็ทึ้งดึงสายหลุด ไป...ทำ ไงล่ะ...คราวนี้ผมก็แผดเสียงออกไป เวทีอย่างนั้นผมถนัดนัก... "


แต่เพียงแค่แผดเสียงออกไปอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ สำหรับความสนุกของผู้ชมในวันนั้น เพราะ

คุณเทพศิริเล่าตอนต่อไปให้ฟังอีกว่า


"...ผมจำบทไม่แม่น ผมก็เขียนตัวโตๆ ไว้ที่พื้น พอแสงมันเรืองๆ มาที่ผม ผมก็ลืมไป ผมถอดแว่น พอถอดแว่นก็อ่านไม่ออก (ฮา)..."


เเต่ คุณเทพศิริ ก็อ่านบทกวีในวันนั้นไปด้วยดี เพราะพอจำบทได้ สำหรับการอ่านบทกวีกับการกำกับการอ่านของ คุณดนู ฮันตระกูล คุณเทพศิริ เล่าว่า


"ก่อนที่จะอ่าน มีปัญหาตรงที่ว่าทำไมจึงอ่านอย่างนั้น ผมโดนเล่นงานมากว่าอ่านเหมือนอึ่งอ่างแก่ๆ (ฮา) โอ๊ย...กวีนิพนธ์ต้องหวาน ต้องอะไรต่ออะไร ว่าอย่างนั้น ไม่ควรจะมาอ่านเกรี้ยวกราด หรือยึกยัก ขึ้นเสียงสูงเสียงต่ำ คนกำกับเขาเป็นคนผสมเสียง ส่วนผมก็ได้แค่ผสมภาษาเท่านั้น คุณดนูเขาเป็นคนบอก

ว่าตรงนี้ต้องทอดเสียง ตรงนี้ต้องต่ำ เสียงผมนี่ตัว ส ผมออกไม่ค่อยถูก ปกติผมเคยแต่ใช้เล่านิทาน เวลาผมเปล่งเสียง มันจะเป็นเสียงของเด็ก มันเป็นอีกภาษาหนึ่ง พอมาอ่านแบบนี้ ผมไม่ยักรู้ว่าผมใช้ตัว ส ผิดมาตลอด


"เวลาอ่านตัว ส คุณดนูบอกให้เอาใหม่อยู่นั่นแหละ 10 กว่าหน ผมชักโมโหเหมือนกันละนะ '...ครั้งอยู่บนฟ้าสูง เธอเคยได้ยินเสียงอย่างนี้มั้ยๆๆ....' แต่ก็ต้องยอมเขาเพราะเขาเล่นทางเสียงมามาก ทวนอยู่นั่น

แหละหลายประโยค ผมใช้เวลาถึง 20 ครั้ง ผมรู้มาว่านักร้องบางคนร้องไห้เลย แต่ผมไม่ร้องไห้หรอก ไม่โกรธ ไม่แค้นหรอก แต่จำนาน (ฮา) คุณดนูจะให้ผมพูดซ้ำๆ ๆ แล้วคุณคนูก็จะเลือกเอาประโยคที่มันใช้ได้..."


คุณเทพศิริ ได้เล่าถึงวิธีการของผู้กำกับเสียงคนเก่งให้ฟังว่า "เขาจะเอานักดนตรีมาเล่น มาอัดเสียง พอเสร็จแล้ว เขาก็จะไล่นักดนตรีกลับหมด แล้วเขาก็จะเปิดเสียงดนตรีให้เราตาม แล้วเขาจะเลือกเอาที่มัน

เข้ากันได้ มันจะทำคนละตอนกัน เอาเสียงอ่านไปสอดเข้าในเสียงดนตรี เวลาเราพูดสั้นไปเขาก็จะยึดให้เสียงเรายาว ได้ ทำให้สั้นได้ ทำให้ยาวได้ ทำให้ทุ้มนุ่ม ทำได้หมด มันมีปุ่มหมุนเป็นร้อยๆ ผมเห็นเครื่อง

ผมตกใจ ไอเลย... " (หัวเราะ)

...อ่านต่อหน้า 96


 

จาก: นิตยสารสกุลไทย ปีที่ 36 ฉบับที่ 1836, 26 ธันวาคม 2532

ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page