การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง จิตวิทยาในการเสริมสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน
(Work – Life Balance)
Photo by Khunying Chamnongsri Hanchanlash
การบรรยายจาก คุณหญิงจํานงค์ศรี หาญเจนลักษณ์ ซึ่งท่านให้เกียรติมาบรรยายในเรื่อง “ชีวิตที่เป็นสุข งอกงาม และสมดุล”
คุณหญิงจำนงศรี: ขอจงทําใจว่าคุณกําลังจะฟังมวยวัดนะคะ คือเป็นคนที่ไม่ได้มี training ทางด้านใดเลย แต่ละอย่างที่ทําอยู่ทุกวันนี้ เกิดจากการเรียนรู้ในชีวิตทั้งสิ้น งานเขียนบางส่วนก็มาจากประสบการณ์จริงเหมือนกัน...คราวนี้หัวข้อชื่อว่า การใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขและสมดุล ใช่ไหมคะ
เริ่มจากจุดนี้ ถ้าใครเคยอ่านหนังสือของดิฉัน จะเห็นว่าดิฉันแยกคําว่า ‘มีความสุข’ กับ ‘เป็นสุข’ ว่ามันไม่เหมือนกัน เพราะอะไรที่เรา ‘มี’ มันหายไปได้ แต่อะไรที่เรา ‘เป็น’ มันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราเอง จริงไหมคะ เพราะฉะนั้นบางทีเวลาไปงานแต่งงาน จะระวังมากเลยที่จะไม่เขียนว่าขอให้มีความสุข ถ้าเราอวยพรให้เขาเป็นสุข หมายความว่า เราอวยพรให้เขาพัฒนาการ เรียนรู้จากชีวิต ที่จะทําให้ใจเขามีศักยภาพของการที่จะเป็นสุขกับสารพัดสิ่ง
บางคนต้องอย่างนี้ อย่างนั้น ถึงจะสุข แต่บางคนอะไรนิดหน่อยเท่านั้นก็สุขแล้ว คนที่มีใจที่เป็นสุข จริงจริงแล้วโดยอัตโนมัติเลยมันจะสุขง่าย แล้วก็ทุกข์ยาก
คราวนี้สมดุลล่ะ ดิฉันก็ตั้งคําถามเลย อะไรคือ 'ความสมดุล' ดิฉันไม่ทราบนะคะ มันขึ้นอยู่กับแต่ละคนหรือเปล่า แล้วตัวเองแปลกนะไม่เคยนึกถึงความสมดุล เพราะว่า บางทีเราไปตั้งความคาดหวังกับตัวเองเอาไว้มาก แล้วบางทีเราไม่รู้เหมือนกัน ว่าไอ้ความคาดหวังที่เราตั้ง มันมีจริงหรือเปล่า? เพราะฉะนั้นในเรื่องของความสมดุล ขอวางไว้ตรงนี้ก่อน.
ในหัวข้อเดียวกันนี้ทําให้ดิฉันตั้งคําถามอีกคําถามหนึ่ง ซึ่งอยากให้คุณลองนั่งนิ่งนิ่งสักนาทีหนึ่งก็พอ แล้วถามดูสิว่า ที่เราบอกว่าการใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข ‘ชีวิต’ มันคืออะไร ลองมองเข้าไปในใจของตัวเอง จริงจริงแล้วคําตอบมันมีไหม? มันมีความตอบในเชิงวิทยาศาสตร์ ในเชิงอื่นๆ แต่จริงจริงแล้ว 'ชีวิต' ในความหมายของฉันคืออะไร?
ดิฉันตอบได้อย่างหนึ่งว่า ดิฉันอยู่มาเจ็ดสิบเอ็ดปีนะคะ กําลังจะเจ็ดสิบเอ็ดปีนี้ ถ้าจะตอบให้มันใกล้ที่สุดนะ "ชีวิตคือการเรียนรู้”
สามารถรับชมเนื้อหาทั้งหมดได้จากวิดิโอด้านล่าง
จาก “กระทรวงวิทย์ พักใจ เข้าจิต คิดโปร่ง โล่งสบาย คลายกังวล”
จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
コメント