top of page

‘กวีเซรามิก’

เมื่อ ‘ศิลปิน’ ประกบ ‘คุณหญิง’




ไม่บ่อยครั้งนักที่ศิลปะเซรามิกแบบไทย จะนำเสนอผลงานควบคู่ไปพร้อมกับบทกวี แต่สำหรับนิทรรศการ “งามในความเงียบ” ที่จะจัดแสดงระหว่าวันที่ 29 ต.ค. – 7 พ.ย. นี้ ณ ห้องซิตีแกลลอรี่ โรงแรมสยามซิตี คือการพบกันระหว่าง คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ผู้มาพร้อมบทกวีสองภาษา และ ปานชลี

สถิรศาสตร์ ศิลปินเซรามิกหญิงแถวหน้าของเมืองไทย กับผลงานชิ้นเอกในชุด “เปลือกไม้”

ศิลปินหญิงผู้สร้างตำนาน “สันติสุขแห่งถ้วยชา” จนโด่งดัง มานานกว่า 10 ปี ได้กลับมาเสนอผลงาน

เซรามิกชุดแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ต่อเนื่องจากนิทรรศการ “มนตราแห่งแผ่นดิน” ที่เคยจัดไป

ก่อนหน้านี้ โดยครั้งนี้ ปานชลีจะเสนองานใหม่ราว 50 ชุด ด้วยรูปทรงอิสระ และมีพื้นผิวที่ชวนให้นึกถึงความงดงามหลากหลายของเปลือกไม้นานาพรรณ เพื่อสะท้อนถ่ายความชื่นชมที่เธอมีต่อความงาม

เงียบของธรรมชาติ

ปานชลีได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถทั้งด้านทัศนศิลป์และวรรณศิลป์ที่โดดเด่น มีปรัชญาการทำงานที่

ลุ่มลึก เป็นที่ชื่นชมยกย่องอย่างกว้างขวางจากวงการศิลปะทั้งในประเทศและต่างแดน ปี 2542 ปานชลี

ได้รับเชิญให้นำผลงานไปแสดงที่เมืองอูเทร็ค (Utretch) และ เกลเดอมานเซน (Geldermansen)

ประเทศเนเธอแลนด์

เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ข้อเขียนและบทกวีของเธอได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาดัตช์ และได้รับการยกย่องจากกวี ศิลปิน ชาวเนเธอแลนด์ ว่าเป็นงานที่แสดงจิตวิญญาณตะวันออกได้อย่างนิ่งสงบและเปี่ยมด้วยพลัง

ปีต่อมาศิลปินหญิงได้รับเชิญจากหอศิลปะ เฮาส์ เดอ คุนส์ (Haus der Kunst) ประเทศเม็กซิโก ให้

เข้าร่วมนิทรรศการ “สามวัฒนธรรม” ข้อเขียนของเธอได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาสเปน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เม็กซิกันหลายฉบับ และได้รับเชิญให้แสดงความคิดในรายการศิลปะชั้นนำของสถานีวิทยุหลายแห่งในประเทศเม็กซิโก

ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อปี 2544 ปานชลีรับคำเชิญจาก หอศิลปะแห่งเกาะลัมมา ฮ่องกง เพื่อแสดงผลงานและแสดงความคิดทางปรัชญาแห่งชีวิต และในปีนี้ ข้อเขียนและบทกวีของเธอได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาเยอรมัน ในนิตยสารเซมามิกชั้นนำของเยอรมนีอีกด้วย


สำหรับการแสดงงานของเธอครั้งนี้ เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเมื่อคุณหญิงจำนงศรี กวีหญิงผู้มากความสามารถ ทั้งยังคุ้นเคยกับผลงานของปานชลีมาตั้งแต่แรกเริ่ม จะรับหน้าที่เขียนบทกวีเป็นสองภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ประกอบผลงานเซรามิกของปานชลี พร้อมอ่านบทกวีในวันเปิดงาน (29 ต.ค.) อีกด้วย โดยถ้อยประพันธ์ของคุณหญิงจำนงศรี เขียนขึ้นด้วยแรงบันดาลใจที่มีร่วมกับปานชลี หากแต่เป็นเรื่องราวจากประสบการณ์และจิตวิญญาณของคุณหญิง ที่สะท้อนความงามและปรัชญาแห่งป่ากับชีวิต

รายได้จากการขายสูจิบัตรในงานครั้งนี้ จะมอบให้โครงการรณรงค์ต่อต้านมลพิษเสียง

 

จาก: หน้าบันเทิง หนังสือพิมพ์รายวันคม ชัด ลึก วันที่ 21 ตุลาคม 2547

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
bottom of page